Page 254 - kpiebook65010
P. 254
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ ผลตอบแทนของงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ อาจใช้
การประมาณการโดยเปรียบเทียบจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
โดยใช้ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ มาร่วมในการคำนวณ ทั้งนี้
ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณค่าล่วงหน้ากับ
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริงนั้น หน่วยงานอาจกำหนดค่าความโน้มเอียง
เพราะอคติจากการคิดในแง่ดี (optimism bias) เอาไว้ เพื่อให้
364
ทราบว่าตัวเลขจากการประมาณการยังมีความไม่แน่นอนมากเพียงใด
และค่อยปรับลดค่าดังกล่าวเมื่อข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจน
มากขึ้นต่อไป
สำหรับมูลค่าที่ยากแก่การกำหนดเป็นตัวเงินหรือปริมาณที่ชัดเจน เช่น
ความสะดวกสบายของผู้คนที่ได้รับจากนวัตกรรมใหม่ ภาพลักษณ์ของประเทศในการส่งเสริม
ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความไม่พอใจจากการที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่มีมากขึ้น
เป็นต้น อาจใช้วิธีการกล่าวถึงระดับของความมีอยู่ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าผลกระทบเหล่านี้
จะส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างไร
ตารางที่ ตัวอย่างการแสดงค่าของผลกระทบที่ไม่อาจกำหนดปริมาณได้
ผลกระทบที่ไม่อาจกำหนดปริมาณได้ ระดับความมีอยู่
ความสะดวกสบายของผู้คนที่ได้รับจากนวัตกรรมใหม่ มาก
ภาพลักษณ์ของประเทศในการส่งเสริมความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มากที่สุด
ความไม่พอใจจากการที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่มีมากขึ้น น้อย
อื่น ๆ ไม่แน่นอน
5.2.3.4. ข้อสังเกตส่งท้าย
เนื่องจากมาตรการที่ถูกนำเสนอในร่างกฎหมายฉบับนี้มีลักษณะเป็นมาตรการ
ซึ่งมีตัวอย่างการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในต่างประเทศ ทำให้เป็นที่เข้าใจได้เป็น
เบื้องต้นว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาในลักษณะเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทย
364 รายละเอียดและตัวอย่างของกำหนดค่าความโน้มเอียงเพราะอคติจากการคิดในแง่ดี (optimism bias)
โปรดดูหัวข้อ 4.1.4.2)
สถาบันพระปกเกล้า
242