Page 252 - kpiebook65010
P. 252
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ ผู้รับทุนมีหน้าที่เปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากสัญญา
ให้ทุนให้ผู้ให้ทุนทราบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน
ระเบียบของคณะกรรมการ (มาตรา 7 วรรค 1) นอกจากนี้ ยังรวมถึง
หัวหน้าโครงการวิจัยตามสัญญาให้ทุน มีหน้าที่เปิดเผยผลงานวิจัย
และนวัตกรรมต่อผู้รับทุนโดยเร็ว (มาตรา 7 วรรค 2) ผู้รับทุน
ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมจะต้องยื่นคำขอ
เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง
เสนอแผนการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน
ภายในระยะเวลาที่กำหนด (มาตรา 8 วรรค 2) ในกรณีที่ผู้รับทุน
ไม่ประสงค์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือมิได้ดำเนินการ
ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสอง ให้ผู้ให้ทุนแจ้งให้นักวิจัย
ทราบผ่านหัวหน้าโครงการวิจัยโดยให้หัวหน้าโครงการวิจัยแจ้งต่อ
นักวิจัยต่อไป (มาตรา 8 วรรค 3) หากนักวิจัยต้องการเป็นเจ้าของ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้ยื่นคำขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งเสนอแผนการใช้ประโยชน์
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(มาตรา 8 วรรค 3) ในการนี้ ฝ่ายผู้รับทุน/หัวหน้าโครงการวิจัย/
นักวิจัย ย่อมต้องมีภาระเพิ่มขึ้นในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไข
ของกฎหมาย ในบางกรณีอาจต้องมีการแต่งตั้งบุคคล หรือจัดทำ
ระบบเพื่อรองรับหน้าที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ซึ่งถือเป็นภาระในทาง
ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการออกกฎหมายเช่นกัน แม้ผู้เสนอกฎหมาย
จะมองว่าการดำเนินการเหล่านี้จะทำให้ผู้ดำเนินการได้รับสิทธิในงาน
วิจัยหรือนวัตกรรมเป็นการตอบแทนก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้อง
จำแนกระหว่างมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้น กับผลตอบแทนที่จะได้รับ
ออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถพิจารณาได้ว่ามาตรการนี้ก่อให้เกิด
ความคุ้มค่าเพียงใด
ในส่วนของข้อ 8.3 ที่สรุปว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ (ไม่มี) นั้น
ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและประดิษฐ์
นวัตกรรมใหม่โดยไม่ได้จำกัดขอบเขตไว้ ซึ่งหากเป้าหมายดังกล่าวบรรลุผลได้แล้ว ย่อมเกิดงานวิจัย
สถาบันพระปกเกล้า
240