Page 265 - kpiebook65010
P. 265
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
หัวข้อผลกระทบ ผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น
7.3 มีแนวทางและระยะเวลา ในหัวข้อ 6.3 ของ Checklist ระบุว่า วิธีการที่จะให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย
ในการสร้างความเข้าใจให้แก่ มีความเข้าใจและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายมีทั้งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ประชาชนและหน่วยงาน ขณะยกร่างกฎหมาย และการพิจารณาร่างกฎหมาย รวมทั้งมีการสัมมนาให้ความรู้เมื่อ
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตาม กฎหมายใช้บังคับแล้ว และการเผยแพร่ร่างกฎหมายในเว็บไซต์ของหน่วยงานในการรับฟัง
และการบังคับการให้เป็นไปตาม ความคิดเห็นของประชาชน และการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนเมื่อกฎหมายใช้บังคับแล้ว
กฎหมายอย่างไร
7.4 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่า ไม่ได้ระบุโดยตรง แต่ในข้อพิจารณาเรื่องความสามารถในการลดงบประมาณแผ่นดิน
ต้องใช้ในการปฏิบัติตามและ การวิเคราะห์ระบุว่าการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
บังคับการตามกฎหมายในระยะ จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น กรณีนี้จึงสามารถลดภาระงบประมาณของรัฐได้ทางหนึ่ง
3 ปีแรก
8. ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
8.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เชิงบวก
๏ โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางจะไม่มีอุปสรรคในการตั้งโรงงาน โรงงานขนาดใหญ่ได้รับ
การอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นจึงส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ
๏ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางขับเคลื่อนไปได้อย่างยั่งยืนและเป็นฐาน
การผลิต สำหรับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะได้รับความสะดวกในการประกอบกิจการ
โรงงานมากขึ้น
๏ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายครั้งนี้โดยภาพรวมทำให้เกิดความสะดวกในการประกอบกิจการ
โรงงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้สามารถวางแผนการประกอบกิจการได้อย่างเหมาะสมกับต้นทุน
เป็นปัจจัยในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เชิงลบ
๏ การปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใหม่มีเพดานสูงขึ้นไม่มาก รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียม
ในการอนุญาตหรือดำเนินการอื่นเพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น แม้จะมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของ
ผู้ประกอบกิจการโรงงานบ้าง แต่ไม่มากเกินกว่าที่หน่วยงานของรัฐควรจะได้รับจาก
การให้บริการแก่ผู้ประกอบกิจการ ประกอบกับอัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้บังคับมาเป็น
เวลานานถึง 25 ปีแล้วยังไม่เคยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย ค่าธรรมเนียมเดิม
จึงไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปมาก
๏ การกำหนดให้ต้องมีการรับรองการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพย์สินของ
ผู้ประกอบกิจการโรงงานบ้าง แต่กรณีดังกล่าวกำหนดขึ้นไว้เพื่อการแก้ไขปัญหาส่วนรวม
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุเดือดร้อนรำคาญซึ่งอาจเกิดขึ้นกับบุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
อาจจะได้รับผลกระทบเชิงลบทางด้านเศรษฐกิจบ้าง แต่ก็เป็นไปเพื่อประกันมิให้เกิด
ผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมอันจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบกิจการโรงงาน
ควบคู่กับการดำรงชีพของประชาชน อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตัดหลักเกณฑ์
การประกันภัยของโรงงานออกจากร่างกฎหมายนี้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมไม่เห็นพ้องด้วย
จึงเห็นควรกำหนดให้มีการประกันภัยลงในร่างกฎหมายนี้ด้วย
8.2 ผลกระทบต่อสังคม เชิงบวก
๏ การกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องมีการรับรองตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย
จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการรับรองดังกล่าวจะมีบุคคล
อื่นรับรองอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความแน่ใจได้ว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว
เช่นเดียวกับการตรวจสอบโรงงาน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีนี้จึงทำให้บุคคล
โดยรอบโรงงานจะได้รับการคุ้มครองและเกิดความแน่ใจว่าผู้ประกอบกิจการโรงงาน
ได้ปฏิบัติตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว ทำให้ไม่เกิดปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือปัญหา
สิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด
สถาบันพระปกเกล้า
253