Page 270 - kpiebook65010
P. 270
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ความเบื้องต้น
คู่มือสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ที่ได้
จากการศึกษาในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัย เรื่อง “แนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย” ซึ่งมีการจัดทำและนำเสนอต่อสำนัก
นวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ในเดือนกันยายน 2564 โดยมุ่งที่จะสรุป
ผลการศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศที่เลือกทำการศึกษา 4 ประเทศ ได้แก่
สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ รวมทั้งหลักการที่ปรากฏในเอกสารของ
ประเทศสหภาพยุโรป (EU) และ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) โดยประเด็น
ของการศึกษาคือการรวบรวมและวิเคราะห์ว่าประเทศและกลุ่มประเทศเหล่านี้มีการจัดทำ
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายเอาไว้หรือไม่ อย่างไร
เพื่อที่จะถอดบทเรียนและสรุปองค์ความรู้และประสบการณ์ดำเนินการจากต่างประเทศมาเป็น
แนวทางพัฒนาการระบบการวิเคราะห์ผลกระทบในการทำ RIA ของประเทศไทย รวมทั้ง
เพื่อนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาจัดทำเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวทาง
และวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในทางปฏิบัติ โดยมุ่งที่จะให้เกิด
ความเข้าใจภาพรวมของแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมภายใต้กรอบกฎหมายไทย
คู่มือในส่วนนี้แบ่งหัวข้อการนำเสนอออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ดังนี้
1) ความหมาย ลักษณะและความสำคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
370
(หัวข้อที่ 1)
2) แนวทาง วิธีการและตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทาง
สังคมในต่างประเทศ (หัวข้อที่ 2)
3) แนวทาง วิธีการการวิเคราะห์ผลกระทบและกรณีศึกษาสำหรับประเทศไทย (หัวข้อที่ 3)
370 การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมที่กล่าวในคู่มือนี้ จำกัดเฉพาะการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมใน
กระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบจากการตรากฎหมาย (RIA)
สถาบันพระปกเกล้า
258