Page 261 - kpiebook65010
P. 261
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1.4.7 แก้ไขขนาดของโรงงานที่ยังคงถือว่าเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับการแก้ไข เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “โรงงาน” ตามพระราชบัญญัตินี้ (แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 17)
1.4.8 แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายโรงงาน และกำหนดให้การขยาย
โรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ บางประการได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 18
และเพิ่มมาตรา 18/1)
1.4.9 แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวน เปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลง
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และเครื่องจักรอื่นให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19)
1.4.10 กำหนดให้การเพิ่มประเภทหรือชนิดของการประกอบกิจการโรงงานที่
เกี่ยวเนื่องกับการประกอบ กิจการโรงงานเดิมสามารถกระทำได้โดยต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ก่อนการดำเนินการ (เพิ่มมาตรา 19/1)
1.4.11 แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 และมาตรา 22 วรรคหนึ่ง)
1.4.12 แก้ไขระยะเวลาในการแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน และกำหนดให้
ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่แก้ไขปรับปรุงโรงงานให้อยู่ในสภาพปลอดภัยก่อนการเลิกประกอบกิจการ
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 28/1)
1.4.13 ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการหยุดดำเนินงาน และการประกอบ
กิจการภายหลังจากที่มีการหยุดดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 33)
1.4.14 แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมาย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 47 มาตรา 51 และมาตรา 57 และเพิ่มมาตรา 47/1 และมาตรา 47/2)
1.4.15 ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
1.4.16 อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและตัดหลักการเกี่ยวกับ
การกำหนดให้โรงงานมีการจัดทำประกันภัย หลักประกันและกองทุน แต่กระทรวงอุตสาหกรรม
เห็นควรให้คงไว้เฉพาะเรื่องประกันภัย เท่านั้น”
ภายใต้ความเป็นมา ข้อเท็จจริงและข้อเสนอทางกฎหมายดังกล่าว จึงได้มี
การนำเสนอหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) และ
สถาบันพระปกเกล้า
249