Page 267 - kpiebook65010
P. 267

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               เท่านั้นที่ยังขาดอยู่ อย่างไรก็ดี ประเด็นที่อาจทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมให้มากกว่านี้ได้อาจได้แก่
               ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากประชาชนที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการโรงงานโดยเฉพาะด้านสังคมและ

               สิ่งแวดล้อมนั้นยังขาดรายละเอียดที่ควรวิเคราะห์ให้มากกว่านี้ เช่น ในข้อมูลการวิเคราะห์ที่ปรากฏ
               ในหัวข้อย่อย 8.3 นั้นระบุว่า การแก้ไขกฎหมาย “ยังคงหลักการการคุ้มครองความเป็นอยู่

               ของประชาชนให้อยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญเช่นเดิม ทั้งนี้ เนื่องจาก
               การรับรองของผู้ประกอบกิจการโรงงานในการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การพัฒนา
               ในลักษณะดังกล่าวจึงทำให้นำมาซึ่งความยั่งยืน” ซึ่งเป็นการนำเสนอผลดีด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดว่า

               จะเกิดจากการรับรองตนเองของผู้รับใบอนุญาตแต่ยังคงขาดการวิเคราะห์ว่าการที่กฎหมายแก้ไข
               ขนาดของการประกอบกิจการที่เข้าลักษณะเป็น “โรงงาน” ให้มีขนาดของเครื่องจักรและคนงาน

               มากขึ้นย่อมทำให้มีสถานประกอบการที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายโรงงานมากขึ้น
               โดยไปอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
               แทน เช่นนี้ ยังไม่มีการวิเคราะห์ว่าสถานประกอบการที่หลุดออกจากการควบคุมของระบบ

               กฎหมายโรงงานจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดมากน้อย
               เพียงใด


                            ส่วนที่สองซึ่งเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของของผลกระทบที่มีการวิเคราะห์นั้น
               โดยหลักการแล้ว การวิเคราะห์ผลกระทบควรจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
               ที่มีการตีค่ามาสนับสนับสนุน แต่หากพิจารณาผลกระทบทั้งหมดที่นำเสนอกลับไม่มีการนำเสนอ

               ข้อมูลเชิงตัวเลขเลยทั้งที่สามารถทำได้ เช่น การนำเสนอว่าจะมีโรงงานที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม
               ของกฎหมายโรงงานเพราะมีกำลังเครื่องจักรและแรงงานไม่ถึงตามที่กำหนดกี่หน่วยงาน

               มีสถานประกอบการที่ได้รับผลดีจากการไม่ต้องยื่นขอต่อใบอนุญาตกี่โรงงานและในจำนวนนี้
               สามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการต่อใบอนุญาตในช่วง 10 ปีข้างหน้าเป็นจำนวนเท่าใด
               เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาสนับสนุนผลดีจากการอำนวยความสะดวกให้กับสถานประกอบการ

               ในขณะเดียวกันการนำเสนอเชิงบรรยายหลายส่วนก็อาจสร้างความเคลือบแคลงว่าผลกระทบจะ
               เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ เช่น ในส่วนของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีการระบุว่า การแก้ไขกฎหมาย

               จะทำให้ “โรงงานมีความรับผิดชอบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรวมทั้งเหตุเดือดร้อน
               รำคาญมากขึ้น” จากระบบการรับรองตนเอง ซึ่งไม่มีหลักประกันใด ๆ ที่จะยืนยันหรือพิสูจน์ได้ว่า
               ข้อสรุปดังกล่าวจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ดังนั้น การขาดการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการสนับสนุน

               ด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์จึงทำให้ความน่าเชื่อถือในการวิเคราะห์ผลกระทบลดลงตามไปด้วย





                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     255
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272