Page 260 - kpiebook65010
P. 260
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1.1.12 อัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
เสียใหม่เพื่อให้รัฐมีรายได้ที่เหมาะสมกับภารกิจในการควบคุมกำกับดูแลโรงงาน ซึ่งคณะกรรมการ
กฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมลงครึ่งหนึ่ง”
และเพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ จึงได้มีการเสนอให้มี
การแก้ไขพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในประเด็นต่อไปนี้ 368
“1.4.1 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจประกาศ
กำหนดให้โรงงานของหน่วยงานของรัฐหรือโรงงานบางประเภทได้รับยกเว้นการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ (เพิ่มมาตรา 4/1)
1.4.2 แก้ไขบทนิยามคำว่า “โรงงาน” และ “ตั้งโรงงาน” และเพิ่มบทนิยาม
คำว่า “ผู้ตรวจสอบเอกชน” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5) กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นควรปรับถ้อยคำ
“ผู้ตรวจสอบเอกชน” ใหม่ และเพิ่มเติมคำนิยามคำว่า “ขึ้นทะเบียน” ด้วย
1.4.3 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออก
กฎกระทรวง ลดค่าธรรมเนียม และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติให้แตกต่างกัน
โดยคำนึงถึงประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6)
1.4.4 แก้ไขผู้มีอำนาจรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2
ให้ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่และข้อเท็จจริงในปัจจุบัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 (2))
1.4.5 แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบเอกชน โดยกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่
เป็นผู้ตรวจสอบเอกชนต้องได้รับใบอนุญาต และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาต
และการสั่งพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งเพิ่มหน้าที่ในการรายงานผลการปฏิบัติการตาม
กฎหมายของผู้ประกอบกิจการโรงงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 และเพิ่มมาตรา 9/1 มาตรา 9/2
มาตรา 9/3 มาตรา 9/4 มาตรา 9/5 และมาตรา 9/6)
1.4.6 ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งของผู้อนุญาตให้เหมาะสม
และชัดเจนยิ่งขึ้น (ยกเลิกมาตรา 14 และมาตรา 15 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16) กระทรวง
อุตสาหกรรมเห็นด้วย
หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) ข้อ 1.4
368
สถาบันพระปกเกล้า
248