Page 262 - kpiebook65010
P. 262

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               การวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดจากกฎหมายดังมีรายละเอียดที่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัด ๆ ไป ดังนี้

                      5.2.3.2   การวิเคราะห์ทางเลือก


                            ในส่วนที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเลือกนั้น ใน หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ
               ความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) ข้อ 1.3 ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่า “การดำเนินการ

               เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มีกี่ทางเลือก มีทางเลือกอะไร แต่ละทางเลือกมีข้อดีข้อเสียอย่างไร” และ
               ใน Checklist ดังกล่าว ระบุสั้น ๆ ว่า “ไม่มีทางเลือกอื่น”


                            หากพิจารณาจากแนวทางการวิเคราะห์ทางเลือกที่มีการสรุปในหัวข้อ 5.1
               จะพบว่า การทำ RIA ที่ดีควรมีการระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ในการดำเนินการกับปัญหาและ
               ข้อติดขัดที่กล่าวไปในหัวข้อความเป็นมา ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 5.2.1.2 แล้วว่า การที่ไม่มี

               การแก้ไขหรือเสนอมาตรการทางกฎหมายใด ๆ ใหม่เลยนอกเหนือจากการใช้กลไกทางกฎหมาย
               และนโยบายที่มีอยู่เดิมก็ถือเป็นทางเลือกด้วยเช่นกัน


                            จริงอยู่ที่ว่าหากพิจารณาจากสภาพปัญหาและการแก้ไขข้อติดขัดที่ได้นำเสนอ
               ไปแล้วในหัวข้อก่อนจะพบว่ามีความจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อแก้ไขข้อติดขัดที่มีอยู่ตามกฎหมาย
               (เดิม) ซึ่งมีลักษณะเป็นการลดภาระและข้อปฏิบัติทางกฎหมายที่มีความเข้มงวด (deregulation)

               ซึ่งนอกเหนือจากทางเลือกดังกล่าวแล้ว ยังมีทางเลือกที่จะดำเนินการทางกฎหมายทางเลือกอื่น
               และควรมีการนำเสนอด้วย เป็นต้นว่า ทางเลือกอาจรวมไปถึงการตรากฎหมายฉบับใหม่ “เพื่อ

               ยกเลิกระบบการควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน” และให้การควบคุมการประกอบกิจการอยู่
               ภายใต้กฎหมายเฉพาะด้าน เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้ง
               กฎหมายด้านการสาธารณสุขดังเช่นในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เป็นต้น หรือแม้กระทั่ง

               ยกเลิกระบบความควบคุมสั่งการโดยรัฐ (command-and-control regulation) แล้วให้
               กลุ่มโรงงานควบคุมกันเอง (self-regulation) เป็นต้น ซึ่งหนทางเหล่านี้อาจมีปัญหาและข้อติดขัด

               ยิ่งกว่าการแก้ไขเพิ่มเติม แต่การนำเสนอให้เห็นทางเลือกทางกฎหมายหลายทางแล้วชี้ให้เห็นว่า
               ทางเลือกโดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการ deregulation ในกฎหมายโรงงาน
               ย่อมจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับร่างกฎหมายมากกว่าที่จะนำเสนอแต่เพียงว่าไม่มีทางเลือกอื่น

               โดยตัวอย่างการวิเคราะห์ทางเลือกทางกฎหมายทางเลือกต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบอาจวิเคราะห์
               แบบ MCA ที่ปรากฏในตารางนำเสนอดังนี้ 369



                    369   เกณฑ์และข้อพิจารณารวมทั้งการประเมินค่าการนำเสนอการวิเคราะห์ในตารางนี้เป็นเพียงข้อมูลสมมติ

               ประกอบการทำความเข้าใจแนวทางการวิเคราะห์ทางเลือกเท่านั้น

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     250
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267