Page 271 - kpiebook65010
P. 271
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1. ความหมาย ลักษณะและความสำคัญของการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคม
เนื่องจากคู่มือนี้มุ่งนำเสนอองค์ความรู้ว่าปัจจุบันมีการกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในกฎหมายไทยและการดำเนินการในต่างประเทศ
มากน้อยเพียงใด ในหัวข้อแรกจะเริ่มจากการนำเสนอความทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคมกับการทำ RIA โดยจะนำเสนอความหมายของคำว่า “ผลกระทบทางสังคม” “การประเมิน
ผลกระทบทางสังคม” และข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการทำ
RIA ตามลำดับ
1.1 ความหมายของผลกระทบทางสังคม
ในบริบทของ RIA นั้น การประเมินผลกระทบด้านสังคม (social impact) ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของขั้นตอนการประเมินผลกระทบแต่ละด้าน (impact assessment stage) ของข้อเสนอเชิง
นโยบายเพื่อให้ครอบคลุมเรื่องที่กำลังทำ RIA โดยแต่ละประเทศอาจจำแนกว่าเรื่องใดเป็นประเด็น
ทางสังคม (social issues) หรือเป็นผลกระทบทางสังคม (social impacts) แตกต่างกันไป และ
บางครั้งอาจไม่มีการกำหนดนิยามหรืออธิบายอย่างชัดเจนว่าผลกระทบใดเป็นผลกระทบทางสังคม
โดยในงานศึกษาของ Burdge และ Vanclay ได้อธิบายความหมายของผลกระทบทางสังคม
ว่าหมายถึง ผล (consequence) ในด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อประชากรมนุษย์ ไม่ว่า
เกิดจากการกระทำส่วนบุคคลหรือจากภาคสาธารณะ โดยผลดังกล่าวนั้นได้ส่งผลเปลี่ยนแปลง
371
ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตและการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านยังได้
อธิบายขยายความคำว่าผลกระทบด้านวัฒนธรรม (cultural impact) อันเป็นส่วนหนึ่งของ
ผลกระทบทางสังคมด้วยว่าได้แก่บรรดาผลกระทบที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อบรรทัดฐานทางสังคม
(norms) คุณค่า (values) และความเชื่อ (beliefs) ของบุคคล ซึ่งทำหน้าที่ชี้นำและให้เหตุผลด้าน
การหยั่งรู้ (cognition) ตนเองและสังคมรอบข้าง 372
นอกจากนี้ ในรายงานการศึกษาที่สรุปการจัดแบ่งผลกระทบด้านสังคมในกลุ่มประเทศ EU
มีการสรุปความคำว่าผลกระทบทางสังคม ว่าหมายถึง ผลกระทบที่ส่งผลต่อปัจเจกบุคคล หรือ
371 Rabel Burdge and Frank Vanclay, ‘Social Impact Assessment: A Contribution to the State of
the Art Series’ (1996) 14 (1) Impact Assessment 59.
372 ibid.
สถาบันพระปกเกล้า
259