Page 302 - kpiebook65010
P. 302
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
3.3.2.3. การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ตามแบบแนบท้าย
ส่วนที่ 1 RIA Handbook)
ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากกฎหมายนั้น รายงาน
ฉบับนี้ได้จำแนกผลกระทบออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาในหัวข้อที่ 6 และหัวข้อที่ 8 ของ
รายงาน ดังนี้
(1) “หัวข้อที่ 6 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
6.1 กฎหมายนี้จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดหน้าที่หรือ
ภาระอะไรแก่ใครบ้าง
กฎหมายฉบับนี้กำหนดสิทธิและหน้าที่แก่ผู้ให้ทุน ผู้รับทุน
เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกใน
การสร้างความสมดุลของการให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจ คือการให้ความเป็นเจ้าของ และ
กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบแก่ผู้ได้รับความเป็นเจ้าของไว้อีกทางด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ รวมถึง
หน้าที่ของคณะกรรมการ (คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการกำกับ
ดูแล และพิจารณาตัดสินกรณีมีการยื่นคำร้อง และเพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไป
ใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้รวมถึงสร้างให้เกิดแนวปฏิบัติที่เป็นทิศทางเดียวกันในระบบ
การให้ทุน...”
(2) “หัวข้อที่ 8. ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
8.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- การให้สิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปยัง
ผู้รับทุนจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจ ดังนี้
- ทำให้เกิดโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชน
เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
- ส่งเสริมให้เกิดบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แยกตัว
ออกจากมหาวิทยาลัยและมีนักวิจัยเข้าร่วม (Spin-off) และบริษัทนวัตกรรมจัดตั้งใหม่ (Startup)
เพิ่มมากขึ้น
สถาบันพระปกเกล้า
290