Page 306 - kpiebook65010
P. 306

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                            (5) การขาดหลักฐานสนับสนุนผลกระทบที่กล่าวอ้าง

                               แม้บรรดาผลกระทบที่หน่วยงานนำเสนอมาข้างต้นนั้น ล้วนเป็นผลที่เชื่อ

               ได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นจริงตามที่กล่าวอ้างก็ตาม แต่หน่วยงานก็ควรที่จะได้แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์
               ของผลกระทบเหล่านั้นให้เห็นมาในรายงานฉบับนี้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าข้อเสนอ

               ในกฎหมายฉบับนี้ได้นำมาจากแนวทางของกฎหมายที่ประสบผลสำเร็จมาในหลายประเทศ การจะ
               แสดงตัวอย่างของผลสำเร็จที่เกิดในต่างประเทศก็คงไม่เป็นการยากเกินไป นอกจากนี้ ข้อมูลที่มีอยู่
               ในระบบของประเทศไทยเองที่สามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนข้อเสนอได้ก็ควรจะมีการหยิบยกมา

               กล่าวอ้างถึงด้วย เช่น ตัวเลขของงานวิจัยที่หน่วยงานอนุญาตให้ผู้วิจัยนำไปใช้ประโยชน์ได้ และ
               ได้สร้างผลตอบแทนแก่นักวิจัยหรือแก่สังคมและเศรษฐกิจในภาพรวมมีอยู่อย่างไร เป็นต้น


                            (6) การระบุถึงปริมาณของผลกระทบ

                               ไม่ปรากฏว่ามีการประมาณการทั้งในส่วนของต้นทุนและผลตอบแทน

               ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายฉบับนี้ออกมาเป็นจำนวนเงินแต่ประการใด แม้เมื่อพิจารณาจาก
               เนื้อหาของรายงานแล้วจะเข้าใจได้ว่า มาตรการที่เป็นการออกกฎหมายตามข้อเสนอนี้จะก่อให้เกิด
               ผลประโยชน์ “มหาศาล” ก็ตาม แต่ดังที่ผู้วิจัยได้กล่าวไว้แล้วว่า การอธิบายถึงมูลค่าของต้นทุน

               และผลตอบแทนในเชิงคุณภาพอย่างเดียว โดยละเลยที่จะกำหนดปริมาณให้ชัดเจนทั้งที่สามารถ
               ทำได้นั้น อาจเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานที่เสนอมาตรการนั้นยังไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ

               มาตรการที่เป็นข้อเสนอของตนอย่างครบถ้วนเพียงพอ

                              ในที่นี้ การกำหนดปริมาณของผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เป็นจำนวนเงิน หรือ
               เป็นปริมาณที่วัดได้นั้น อาจทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น


                                    ๏ ต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการตามกฎหมาย สามารถ
                                      ประมาณการจากงบประมาณที่หน่วยงานอื่นใช้ในการตั้ง

                                      คณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่คล้ายกันได้

                                    ๏ ต้นทุนการดำเนินการของเอกชน สามารถประมาณการจากค่าใช้จ่าย

                                      ที่เอกชนทั่วไปใช้สำหรับการดำเนินการบริหารจัดการในงานที่มี
                                      ลักษณะอย่างเดียวกัน

                                    ๏ ผลตอบแทนของงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ อาจใช้


                                      การประมาณการโดยเปรียบเทียบจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     294
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311