Page 300 - kpiebook65010
P. 300
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เช่น เมื่อผู้รับทุนหรือผู้ต้องการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นภาคเอกชนมาขอทำ
สัญญาโอนสิทธิความเป็นเจ้าของหรือขอทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรม
หน่วยงานให้ทุนบางแห่งสามารถทำสัญญาให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ บางแห่งทำได้
เพียงสัญญาให้ผู้รับทุนหรือผู้ใช้ประโยชน์เป็นผู้บริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม และ
บางแห่งมีแนวปฏิบัติที่ยุ่งยากและซับซ้อนโดยต้องทำหนังสือขอความเห็นไปยังสำนักงานอัยการ
สูงสุดเพื่อพิจารณาร่างสัญญาและการอนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
จากเนื้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า หน่วยงานได้แสดงให้เห็นถึง “ทางเลือก
ที่ประสงค์จะนำมาใช้” คือ การออกกฎหมายเฉพาะเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ
นวัตกรรมโดยตรง และได้แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรืออาจเรียกว่าเป็น
“ทางเลือกในการไม่ทำอะไรเลย” คือ การคงสถานะปัจจุบันไว้ (status quo) ซึ่งได้แก่การให้
หน่วยงานมีดุลพินิจในการจัดการโดยอาศัยกฎหมายและข้อตกลงในสัญญาที่มีอยู่ โดยได้แสดงถึง
ข้อจำกัดของทางเลือกนี้เอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม การอธิบายในหัวข้อนี้ยังไม่ได้ดำเนินการให้
สอดคล้องกับคำแนะนำใน RIA Handbook อีกประการหนึ่ง นั่นคือ “ควรอธิบายด้วยว่า
การแก้ปัญหาด้วยมาตรการทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การตรากฎหมายได้ผลอย่างไร และมีอุปสรรคหรือ
ข้อจากัดอย่างไรบ้าง” เช่น รัฐบาลอาจเลือกใช้แนวทางการกำหนดมาตรฐานของข้อสัญญาที่ใช้
สำหรับงานวิจัยและนวัตกรรมจากงบประมาณของรัฐให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ให้เป็น
ไปในลักษณะเดียวกันทั้งหมดได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายก็ได้ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป การกำหนดทางเลือกในมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับเรื่องนี้นั้น อาจกำหนดได้เป็น 3 ประการ ได้แก่
(4) ทางเลือกที่ 1 ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้หน่วยงานใช้ดุลพินิจจัดการ
ปัญหาไปตามกฎหมายที่มีอยู่และระบบของสัญญา
(5) ทางเลือกที่ 2 รัฐบาลกำหนดข้อสัญญามาตรฐานที่ใช้สำหรับงานวิจัย
และนวัตกรรมจากงบประมาณของรัฐให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไป
ปรับใช้ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งหมดได้โดยบริหารจัดการ
อุปสรรคที่ถูกอ้างว่ามีอยู่ (เช่น ความยุ่งยากในการประสานงานกับ
อัยการ)
(6) ทางเลือกที่ 3 ออกกฎหมายเฉพาะเรื่องเพื่อใช้กับงานวิจัยและนวัตกรรม
จากงบประมาณของรัฐ
สถาบันพระปกเกล้า
288