Page 298 - kpiebook65010
P. 298

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                        3.3.1.4.  ข้อสังเกตส่งท้าย

                              ตัวอย่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย

               ฉบับนี้ มีข้อที่น่าสนใจ คือ การกล่าวถึงทางเลือกอื่น ๆ นอกจากทางเลือกที่เป็นการออกกฎหมาย
               ซึ่งหน่วยงานประสงค์จะนำมาใช้ด้วย อย่างไรก็ตาม การประเมินผลกระทบในส่วนอื่น ๆ นั้นยังไม่ได้

               ทำอย่างรอบคอบเพียงพอ เนื่องจากความโน้มเอียงต่อข้อเสนอในทางกฎหมายซึ่งทำให้มองข้าม
               ผลกระทบในทางลบไปหลายประการ และในส่วนของผลกระทบในทางบวกที่ผู้เสนอกฎหมาย
               อ้างว่ามีอยู่นั้น ก็ยังขาดแคลนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะนำมาใช้สนับสนุนให้เชื่อได้ว่าข้อดีทั้งหลาย

               เหล่านั้นมีอยู่จริงอีกด้วย

                    3.3.2  กรณีศึกษาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

               พ.ศ. ....

                        3.3.2.1.  ความเป็นมา


                              คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 อนุมัติและรับทราบ
               หลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ตามที่
               กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ซึ่งมีหลักการสำคัญเพื่อขจัดอุปสรรคในการนำผลงาน

               วิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยการมอบสิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัย
               และนวัตกรรมที่เกิดจากการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานให้ทุนของรัฐ ให้แก่ผู้รับทุนซึ่งส่วนใหญ่

               ได้แก่ สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย เมื่อมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเป็นเจ้าของผลงานวิจัย
               จะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไปยังภาคเอกชนเพื่อนำไปผลิต
               เป็นสินค้า บริการ และออกขายในตลาดต่อไปได้อย่างคล่องตัว โดยมีนักวิจัยในสังกัดสถาบันวิจัย

               และมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ทำวิจัยทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ไปยังภาคเอกชน
               ซึ่งเป็นผู้รับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นได้โดยตรง และไม่ติดกับกฎระเบียบของหน่วยงานให้ทุน

               ในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย
               จะได้รับรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ และจะต้องจัดสรรรายได้ให้กับนักวิจัยในสัดส่วนที่เหมาะสม
               เมื่อนักวิจัยได้รับส่วนแบ่งรายได้ก็จะเกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตรงกับ

               ความต้องการของภาคการผลิตและบริการ ยิ่งไปกว่านั้น หากนักวิจัยจะนำเอาผลงานวิจัยนั้น
               ไปต่อยอดและทำธุรกิจเองโดยตั้งเป็นบริษัทก็สามารถทำได้ หรือหากผู้ประกอบการ Startup

               สนใจทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นก็สามารถทำได้รวดเร็วและทันต่อ




                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     286
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303