Page 304 - kpiebook65010
P. 304
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
(4) ความไม่ครบถ้วนในการพิจารณาผลกระทบของกฎหมาย
โดยภาพรวมแล้ว เนื้อหาที่ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบฉบับ
นี้ได้นำเสนอแง่มุมเกี่ยวกับผลที่จะเกิดจากกฎหมายได้อย่างน่าสนใจในหลากหลายประเด็น แต่ก็
เป็นเช่นเดียวกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบในหลาย ๆ เรื่อง ที่หน่วยงานมักจะให้ความสนใจ
กับแง่มุมที่เป็นประโยชน์ของกฎหมายที่ตนนำเสนอจนมองข้ามการอธิบายประเด็นที่เป็นผลกระทบ
ในทางที่สร้างภาระหน้าที่ให้แก่บุคคลไป โดยเฉพาะจากข้อมูลที่ปรากฏในหัวข้อ 6.1 ข้างต้น
ซึ่งเป็นหัวข้อที่ประสงค์จะให้หน่วยงานอธิบายถึงแง่มุมที่เป็นการจำกัดสิทธิหรือสร้างภาระหน้าที่
แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่คำอธิบายก็ยังเป็นไปในลักษณะที่ชี้ให้เห็นประโยชน์ของมาตรการที่นำมา
ใช้เป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว มาตรการเหล่านั้นได้ส่งผลกระทบในลักษณะของการสร้าง
ภาระหน้าที่ในการที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายเพิ่มขึ้นด้วย เช่น
๏ ผู้ให้ทุนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายประการ เช่น การจัดทำ
สัญญาให้ทุนโดยมีข้อกำหนดซึ่งเป็นสาระสำคัญตามที่กำหนดใน
ระเบียบของคณะกรรมการ (มาตรา 6) การออกคำรับรองความเป็น
เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ผู้รับทุนโดยเร็ว (มาตรา 6
วรรค 3) ในกรณีที่เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ปฏิบัติตาม
ระเบียบหรือแผนการใช้ประโยชน์โดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้ผู้ให้ทุน
มีหนังสือแจ้งเตือนให้เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมดำเนินการ
ให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ผู้ให้ทุนกำหนด (มาตรา 11 วรรค 2)
ในกรณีเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ใช้ประโยชน์ ให้ผู้ให้ทุน
มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่และอำนาจ จดทะเบียนสิทธิตามกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อไป ในกรณีเช่นนี้
ให้ผู้มีหน้าที่และอำนาจดังกล่าวดำเนินการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วและ
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ให้ทุนทราบ (มาตรา 11 วรรค 4) หน้าที่ทั้งหลาย
เหล่านี้ ย่อมก่อให้เกิดภาระในการจัดเตรียมกระบวนการเพื่อ
ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย อันเป็นต้นทุนการที่เพิ่มขึ้นในฝั่ง
ของผู้ให้ทุน และเป็นผลกระทบจากการออกกฎหมายโดยตรง
๏ ผู้รับทุนมีหน้าที่เปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากสัญญา
ให้ทุนให้ผู้ให้ทุนทราบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน
ระเบียบของคณะกรรมการ (มาตรา 7 วรรค 1) นอกจากนี้ ยังรวมถึง
สถาบันพระปกเกล้า
292