Page 301 - kpiebook65010
P. 301
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า การเพิ่มทางเลือกที่ 2 เข้ามานั้น อาจทำให้ความจำเป็น
ของทางเลือกที่ 3 ซึ่งเป็นทางเลือกที่หน่วยงานประสงค์จะนำมาใช้ลดน้อยลงไป เนื่องจากหาก
รัฐบาลสามารถควบคุมเนื้อหาของข้อตกลงในสัญญาประเด็นนี้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้แล้ว
คู่สัญญาย่อมสามารถอาศัยสิทธิในสัญญาบังคับกันได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการลดต้นทุนในส่วนของ
การจัดให้มีกฎหมายและองค์กรตามกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม การบังคับโดยอาศัย
สัญญาอาจมีข้อจำกัดในแง่ที่การบังคับนั้นสามารถทำได้โดยอาศัยแต่เพียงข้อสัญญาเท่านั้น แต่หาก
สิทธิที่พิพาทกันนั้น มีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงแล้ว อาจมี
ความเสี่ยงที่ผลทางกฎหมายของสัญญาจะไม่คุ้มครองไปถึงบุคคลภายนอกได้ ในกรณีเช่นนี้
ทางเลือกโดยการออกกฎหมายเฉพาะอาจเป็นทางเลือกที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายในด้านความมั่นคง
ทางนิติฐานะ (legal security) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้มากกว่า ซึ่งการพิจารณาว่าทางเลือกใด
จะมีความเหมาะสมกว่านั้น อาจทำได้ด้วยวิธีการคำนวณหามูลค่าของต้นทุนและผลตอบแทน
ทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน หรือด้วยการเปรียบเทียบจากการบรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ด้วยวิธีการ
วิเคราะห์แบบ MCA ดังที่กล่าวไว้ในกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาก่อนแล้วก็ได้
ตารางแสดงการเปรียบเทียบเชิงคุณภาพของทางเลือกในการดำเนินการด้วยวิธีแบบ MCA
ทางเลือกที่ 1 ทางเลือกที่ 2 ทางเลือกที่ 3
ผลลัพธ์อันพึงประสงค์
ไม่ทำอะไรเลย ใช้การบริหารจัดการสัญญา การออกกฎหมายเฉพาะ
ต้นทุนในการดำเนินการ 0 + --
อาจลดต้นทุนได้ด้วยการจัดการ มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการตั้ง
อุปสรรคที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการมารับผิดชอบ
เป็นการเฉพาะ
การกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยและ 0 + ++
นวัตกรรมใหม่ ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในผลบังคับ ผู้เกี่ยวข้องมีความมั่นใจในสิทธิ
ของสัญญา ที่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย
ความมั่นคงทางนิติฐานะของ 0 + ++
คู่สัญญา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในผลบังคับ สิทธิได้รับการรับรองอย่างชัดเจน
ของสัญญา ในกฎหมาย
ความมั่นคงทางนิติฐานะของ 0 0 ++
บุคคลอื่น บุคคลภายนอกอาจไม่สามารถ สิทธิได้รับการรับรองอย่างชัดเจน
อ้างสิทธิตามสัญญาได้ ในกฎหมาย
การส่งเสริมให้มีการนำงานวิจัย 0 + ++
ไปใช้ประโยชน์ ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในผลบังคับ ผู้เกี่ยวข้องมีความมั่นใจในสิทธิ
ของสัญญา ที่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย
ผลรวม 0 ++++ ++++++
สถาบันพระปกเกล้า
289