Page 32 - kpiebook65010
P. 32
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เป็นบทเรียนถ่ายทอดสู่บุคลากรและกลุ่มเป้าหมายที่จะมีส่วนทำ RIA ในอนาคตผ่านการอบรม
“หลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย”
โดยกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนากระบวนการ
วิเคราะห์ผลกระทบในฐานะส่วนหนึ่งของการทำ RIA ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์การศึกษา
โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา ประกอบด้วย
1) เพื่อให้ทราบว่าในต่างประเทศมีการกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบใน
ฐานะส่วนหนึ่งของการทำ RIA เอาไว้หรือไม่ อย่างไร
2) เพื่อให้ทราบว่าสามารถถอดบทเรียนและสรุปองค์ความรู้และประสบการณ์ดำเนินการ
จากต่างประเทศมาเป็นแนวทางพัฒนาการประเมินในทั้งสองด้านภายใต้บริบทประเทศไทยอย่างไร
3) เพื่อนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาจัดทำเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับบริบท
ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดความเข้าใจการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในทางปฏิบัติ
1.3 ขอบเขตการศึกษา
โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
กำหนดขอบเขตการดำเนินงานศึกษาวิจัยเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง การสำรวจ
องค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจาก
กฎหมายของประเทศต่าง ๆ โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคม (social impact) แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
(environmental impact) การเปรียบเทียบวิธีการและแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบในด้าน
ต่าง ๆ จากประสบการณ์ต่างประเทศ ซึ่งการศึกษาในส่วนนี้จะจำกัดขอบเขตการศึกษาเฉพาะ
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ (ซึ่งเน้นการวิเคราะห์ในมิติด้านสังคม (social
สถาบันพระปกเกล้า
20