Page 30 - kpiebook65010
P. 30
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ
2560 7
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบในขั้นตอนการทำ RIA นั้น พระราชบัญญัติ
หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดให้
หน่วยงานของรัฐนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายไปรับฟังความคิดเห็นโดยนำเสนอ
ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับ
ผลกระทบ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในด้านการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ
หรือผลกระทบในทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบอื่นที่สำคัญ และกำหนดให้มี
8
การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบซึ่งอาจเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านสังคมและ
สิ่งแวดล้อมด้วย 9
แม้ว่าหลักเกณฑ์การทำ RIA ข้างต้นจะกล่าวถึงผลกระทบแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรมีการวิเคราะห์
แต่ในแง่รายละเอียดการดำเนินการนั้น กฎหมายทั้งสองฉบับไม่ได้กำหนดรายละเอียดว่า
10
การวิเคราะห์ผลกระทบที่ต้องดำเนินการ มีหลักการ วิธีการ และแนวทางดำเนินการอย่างไร
จริงอยู่ว่าในปัจจุบันมีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการทำ RIA ในเอกสาร
ที่ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยตรงอยู่บ้าง ได้แก่ แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
11
จากกฎหมาย ซึ่งเป็นแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะ
รัฐมนตรีตามนัยมาตรา 7 และ 17 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และคู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์
12
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ยังไม่มี
7 ดูเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
กฎหมาย พ.ศ. 2562
8 พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562,
มาตรา 14. ในกรณีที่กล่าวถึงบทบัญญัติมาตราใดโดยไม่ได้กล่าวถึงชื่อกฎหมาย ให้หมายถึงบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้
9 มาตรา 17.
10 คำว่า “การวิเคราะห์ผลกระทบ” ที่จะกล่าวถึงในรายงานการศึกษานี้ หากมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้หมาย
ถึง การวิเคราะห์ผลกระทบที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำ RIA
11 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก หน้า 7 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 รายละเอียดจะได้กล่าวถึง
อีกครั้งในบทที่ 2
12 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” <www.krisdika.
go.th/article77> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
18