Page 33 - kpiebook65010
P. 33

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                          14
               dimension))  ตามแนวทางของ EU และ OECD ในฐานะตัวอย่างการดำเนินการในระดับสากล
               (บทที่ 3) และแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบของประเทศสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์

               เนเธอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ ตามลำดับ (บทที่ 4) โดยเป็นการศึกษาและนำเสนอองค์ความรู้
               ในลักษณะของการแสดงตัวอย่าง (exemplify) บทเรียนในประเด็นที่น่าสนใจ โดยไม่ได้เน้น

               การศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบในทุกแง่มุมอย่างรอบด้าน (comprehensive study) เนื่องจาก
               มุ่งเน้นการนำตัวอย่างในประเด็นที่น่าสนใจมาเป็นประเด็นพิจารณาเพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่าง
               ระหว่างการวิเคราะห์ผลกระทบตามแนวทางที่ประเทศไทยดำเนินการในปัจจุบันกับแนวทาง

               ที่มีการดำเนินการในต่างประเทศ

                    ส่วนที่สองของการศึกษาได้แก่การนำองค์ความรู้จากการสำรวจในส่วนแรกมาจัดทำเป็น

               กรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอนและทดลองใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรา
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบัน
               พระปกเกล้า และส่วนสุดท้ายได้แก่การนำองค์ความรู้จากการสำรวจในข้อแรกและผลการศึกษา

               ที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ในส่วนที่สองพัฒนาเป็นคู่มือสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
               ในการตรากฎหมาย



               1.4 ประโยชน์ที่จะได้รับ


                    โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
               คาดว่าการศึกษาจะก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่การสร้างองค์ความรู้และสื่อการสอนในเรื่องต่อไปนี้


                    1) องค์ความรู้ในเรื่องแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
               ที่ทันสมัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยได้







                     14   เหตุที่ต้องเน้นว่าจะทำการวิเคราะห์โดยเน้นในมิติด้านสังคมก็เนื่องจากข้อกำหนดของโครงการที่มีการจัดทำ
               ขึ้นก่อนเริ่มลงมือศึกษานั้นกำหนดให้ศึกษาแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม
               หลังจากที่มีการดำเนินการศึกษาไประยะหนึ่งแล้ว พบว่าปัจจุบันในประเทศไทย และการดำเนินการในต่างประเทศไม่ได้มี
               การแยกแนวคิดและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมออกเป็นเอกเทศจากการวิเคราะห์ในมิติอื่น ๆ เพราะในหลายครั้ง
               ผลกระทบ (impact) ด้านหนึ่งอาจมีลักษณะที่เป็นต้นทุน (costs) และผลประโยชน์ (benefits) ที่มีความคาบเกี่ยวกับ
               ผลกระทบในมิติอื่น ๆ ด้วย โดยจะเห็นตัวอย่างประเด็นนี้ในบทที่ 4 โดยเฉพาะในส่วนของการนำเสนอประสบการณ์
               การทำ RIA ในประเทศสหราชอาณาจักร


                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     21
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38