Page 36 - kpiebook65010
P. 36
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ภาพ 1 กรอบการศึกษาวิจัย (research framework)
จากกรอบการศึกษาวิจัยที่ได้นำเสนอข้างต้นนั้น รายงานการศึกษานี้กำหนดแนวคิดที่จะนำ
ไปสู่ข้อสรุปของการศึกษาโดยกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษาตามรายละเอียดที่ปรากฏ
ในหัวข้อ 1.2 และ 1.3 จากนั้นอธิบายว่าการจะสามารถหาข้อสรุปการศึกษาภายในขอบเขต
การศึกษาดังกล่าวนั้นอาจทำได้โดยเริ่มจากการพิจารณาว่าปัจจุบันกฎหมายและระเบียบภายใน
ของประเทศไทยกำหนดขอบเขตและแนวทางการทำ RIA เอาไว้หรือไม่ เพียงใด ในบทที่ 2
เพื่อชี้ให้เห็นว่าสถานะปัจจุบัน (status quo) ของการวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายปัจจุบัน
เป็นอย่างไร รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงช่องว่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์
ผลกระทบที่ชัดเจน ซึ่งข้อค้นพบนี้สะท้อนให้เห็นว่าควรมีการศึกษาบทเรียนหรือตัวอย่างการดำเนินการ
ในระดับสากลรวมทั้งที่ได้มีการดำเนินการในต่างประเทศซึ่งจะได้นำเสนอในบทที่ 3 และบทที่ 4
ตลอดจนมีความจำเป็นต่อการพัฒนากรณีศึกษาสำหรับประเทศไทยในบทที่ 5 ในขณะเดียวกัน
ก็จะนำเสนอตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบ RIA เพื่อชี้ให้เห็นแนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ที่เหมาะสมกับในประเทศไทย โดยการนำเสนอในส่วนนี้จะช่วยให้เกิดภาพที่ชัดเจนว่าแนวทาง
การดำเนินการในประเทศที่ศึกษาสอดคล้องหรือแตกต่างจากการดำเนินการในประเทศไทย
ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
เมื่อได้ทราบสถานะปัจจุบันของการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทยแล้ว การศึกษาใน
บทที่ 3 จะเน้นการนำเสนอว่าในระดับสากลแล้ว มีการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมเอาไว้หรือไม่อย่างไร และแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นฐานใน
การกำหนดฐานรากของการวิเคราะห์ผลกระทบของประเทศไทย หลังจากนั้น ในบทที่ 4 จะเน้น
การนำเสนอแนวคิด วิธีการและตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบที่มีการดำเนินการในประเทศ
ต่าง ๆ 4 ประเทศเพื่อจะนำไปถอดบทเรียนในการพัฒนากรณีศึกษา หลักการ แนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบของไทยซึ่งจะได้วิเคราะห์ในบทที่ 5 ตลอดจนนำไปสรุปเป็นคู่มือการศึกษา
ในบทที่ 6 ต่อไป
สถาบันพระปกเกล้า
24