Page 31 - kpiebook65010
P. 31
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ความชัดเจนนักว่าเอกสารเหล่านั้นกำหนดรายละเอียดไว้เหมาะสมและเพียงพอตลอดจนสอดคล้อง
กับหลักการสากลหรือไม่
นอกจากนี้ในทางปฏิบัติยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการนี้เช่นกัน จึงทำให้เกิด
ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อประกอบการทำ RIA เป็นอย่างมาก โดยอาจ
พิจารณาตัวอย่างของปัญหาจากหนังสือของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 โดยมีลักษณะของปัญหาได้แก่
การที่หน่วยงานของรัฐที่เสนอกฎหมายขาดการวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างเป็นระบบรวมทั้ง
ยังไม่เข้าใจการวิเคราะห์มาตรการในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมาย
13
ที่เสนอ ในขณะเดียวกันหากสำรวจองค์ความรู้ในทางวิชาการที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณชน
ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2564) พบว่ายังไม่มีงานศึกษารายละเอียดว่าจะมี
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในฐานะส่วนหนึ่งของการทำ RIA อย่างไร
เพื่อตอบสนองข้อจำกัดและความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ดังกล่าว โครงการวิจัยนี้
จึงมุ่งศึกษา แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่มีการดำเนินการในต่างประเทศเพื่อถอด
บทเรียนการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านสังคมที่มีการดำเนินการในต่างประเทศเพื่อสร้างองค์ความรู้
ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางพิจารณาการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทย
เนื่องจากการศึกษาผ่านประสบการณ์และแนวทางดำเนินการในต่างประเทศย่อมมีความสำคัญ
ต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินการในประเทศไทย
โดยความมุ่งหมายหลักของการศึกษานี้มุ่งเน้นการนำข้อค้นพบและผลลัพธ์จากการศึกษาไปพัฒนา
13 รายละเอียดที่มาของความจำเป็นในเรื่องนี้ ดูหนังสือของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 และหนังสือนี้ปรากฏในรายงานมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
13 สิงหาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ
ร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (นร 09) ซึ่งปรารถสภาพปัญหานี้ในความตอนหนึ่งว่า
“(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) ได้ตรวจสอบรายงาน RIA ที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นรวมทั้งแก้ไขปรับปรุงรายงาน
RIA แล้ว พบว่ายังคงมีปัญหาในการทำรายงาน RIA ในเรื่องดังต่อไปนี้... 1) ไม่มีการวิเคราะห์สภาพปัญหา (problem
define) อย่างเป็นระบบและการขาดความเข้าใจในการวิเคราะห์ปัญหา มาตรการในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งผลกระทบ
ที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอ อันเป็นผลมาจากการเขียนรายงานการวิเคราะห์ RIA ภายหลังจากที่จัดทำ
ร่างกฎหมายขึ้นแล้ว รายงาน RIA จึงมีเนื้อหาเป็นการสนับสนุนร่างกฎหมายที่ร่างขึ้น แทนที่จะพิจารณาทางเลือกอื่น
ในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ใช่การตรากฎหมายด้วย... (3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำร่างกฎหมายของแต่ละ
หน่วยงานมิได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
ส่งผลให้การกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในร่างกฎหมายไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง”
สถาบันพระปกเกล้า
19