Page 29 - kpiebook65010
P. 29
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
1.1 ที่มาของการศึกษา
การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (regulatory impact assessment/analysis:
RIA) ถือเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่สำคัญเพื่อประกันว่าร่างกฎหมายที่มีการจัดทำเพื่อเสนอเข้าสู่
5
การพิจารณาได้ผ่านการประเมินอย่างพินิจพิเคราะห์แล้วว่าควรมีการตรากฎหมายรองรับในเรื่อง
นั้น ๆ หรือควรดำเนินการโดยทางเลือกอื่นที่มีประสิทธิภาพไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ในขณะเดียวกัน
6
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (รายงาน RIA) ก็มีส่วนในการอธิบายว่า
กฎหมายที่จะมีการตราออกมาใช้บังคับนั้นได้ผ่านการประเมินและคำนึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นตลอดจนทำให้องค์กร
ที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างกฎหมายและผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการตรากฎหมาย
ดังกล่าวมีข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจว่าจะลงมติหรือแสดงความเห็นเพื่อสนับสนุน
การตรากฎหมายฉบับนั้นหรือไม่ เพียงใด โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 (รัฐธรรมนูญฯ 2560) ได้วางหลักประกันให้มีการใช้เครื่องมือนี้ในมาตรา 77 วรรคสอง
โดยเรียกร้องให้รัฐวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ
ในขั้นตอนก่อนการตรากฎหมาย ซึ่งในภายหลังได้มีการตรากฎหมายเพื่อวางหลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการทำ RIA ได้แก่ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์
5 ในทางวิชาการและในทางกฎหมายทั้งในและต่างประเทศมักมีการใช้คำว่า “การประเมินผลกระทบ (impact
assessment)” และ “การวิเคราะห์ผลกระทบ (impact analysis)” อย่างปะปนกันในความหมายที่ใกล้เคียงกัน
อย่างมาก ซึ่งแม้ที่ปรึกษาจะเห็นว่าถ้อยคำ “การประเมิน” น่าจะมีความเหมาะสมกว่าเพราะมุ่งที่จะชี้ให้เห็นว่า
การตรากฎหมายจะผลกระทบมีหรือไม่ มากน้อยเพียงใด อันจะนำไปสู่การพิจารณาชั่งน้ำหนักความคุ้มได้คุ้มเสีย
ในการตรากฎหมาย ในขณะที่คำว่า “การวิเคราะห์” นั้น มีความหมายที่กว้างขวางกว่าคำว่า “ประเมิน” จนอาจทำให้
เกิดปัญหาว่าการวิเคราะห์ผลกระทบนั้นต้องมีการดำเนินการใดบ้างและมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งอาจเกิดปัญหา
ในการตีความว่าหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการครบถ้วนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ และ
กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันใช้คำว่า “การวิเคราะห์ผลกระทบ” ประกอบกับ TOR ของการศึกษานี้ใช้คำว่า “การวิ
เคราะห์ผลกระทบ” ดังนั้น จะใช้คำว่า “การวิเคราะห์ผลกระทบ” เป็นหลักในการนำเสนอโดยมีความหมายรวมถึงการ
ประเมินผลกระทบด้วย รายละเอียดข้อสังเกตส่วนนี้เพิ่มเติม ดูจาก OECD, ‘Recommendation of the Council on
Regulatory Policy and Governance’ (OECD 2012) 25
6 คณพล จันทน์หอม และโชติกา วิทยาวรากุล, “การนำเครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย
มาใช้ในประเทศไทย” (2561) 11(1) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99, 102.
สถาบันพระปกเกล้า
17