Page 167 - kpiebook65020
P. 167
128
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
กล่าวเพื่อเป็นข้อมูลว่าการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ได้ส่งผลกระทบมากกว่า 2 ประเด็นข้างต้น อาทิ
ผลกระทบ (บวกและลบ) ต่อการท่องเที่ยว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ สิ่งแวดล้อม
3.2.1.2 ระบุกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนคือกลุ่มใดบ้าง
ในส่วนนี้เป็นการนิยามสภาพปัญหาอย่างแคบ บทวิเคราะห์จากแบบฝึกหัดนี้จึงพิจารณาปัญหาของผู้ที่
ประสบปัญหาจากการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มดังนี้
1) ผู้อยู่อาศัยประจ าในคอนโดมิเนียม
2) นิติบุคคลคอนโดมิเนียมที่มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและพื้นที่ส่วนกลางคอนอาคาร
3) หน่วยงานรัฐที่ต้องรับร้องเรียนปัญหาการรบกวนจากผู้อยู่อาศัยประจ า ได้แก่ เจ้าหน้าที่ต ารวจ
ส านักงานเขตของกทม. (ส่วนท้องถิ่น) และ กรมการปกครอง
4) ผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย
นอกจากกลุ่มมีได้รับความเดือดร้อน ยังคงมีกลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม
ดังนี้
1) เจ้าของห้องเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม
2) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ซึ่งได้รับค่าธรรมเนียมจากการบริการลงโฆษณาห้องเช่า
3.2.1.3 ขนาดของกลุ่มดังกล่าวมีจ านวนสมาชิกมากน้อยเพียงใด
ข้อมูลจากเอกสารแนบ 3 ของเอกสารส่วนสรุป แสดงขนาดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังนี้
1) ผู้อยู่อาศัยประจ า 96,000 ห้อง (ราย) โดยมีร้อยละ 30 ที่เดือดร้อนจากเหตุร าคาญ จ านวน 28,800
ราย
2) นิติบุคคล 1 แห่ง ดูแลผู้อยู่อาศัยประจ า 1 ห้อง (เพื่อความสะดวกในการค านวณต้นทุน-ประโยชน์)
3) หน่วยงานรัฐ 3 แห่ง
4) ผู้ประกอบการโรงแรม 12,000 แห่ง (ราย)
5) เจ้าของห้องเช่าระยะสั้นฯ 12,000 ห้อง (ราย)
3.2.1.4 ระบุลักษณะของปัญหาที่กลุ่มสังคมเหล่านี้ต้องเผชิญ
การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มในคอนโดมิเนียมมีโอกาสสร้างผลกระทบ อาทิ เสียงรบกวน ความ
ไม่ปลอดภัย แก่ ผู้อยู่อาศัยประจ า อย่างไรก็ดี การร้องเรียนปัญหาดังกล่าวยังคงมีต้นทุนสูงแก่ผู้ที่ได้รับความ
เดือดร้อน จากการไม่มีกฎหมายก ากับดูแลที่ชัดเจน