Page 240 - kpiebook65020
P. 240

201
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                       ค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ ลงวันที่วันที่ 11 มีนาคม 2562 (หมายเลขคดีด า ผบ.1587/2561 หมายเลข
               คดีแดง 2773/2562) ซึ่งเป็นการอุทธรณ์คดีที่เกี่ยวข้องกับการที่นิติบุคคลอาคารชุดฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้อง

               ชุดเนื่องจากมีการปล่อยเช่ารายวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหน้าที่ ศาลอุทธรณ์แผนกพิจารณาคดี
               ผ้ ูบริโภคตรวจสอบมีกรรมส านวนโดยมีสาระส าคัญ ดังนี้

                       ประเด็นที่  1  มติข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดที่ก าหนดห้ามให้ประกอบการค้าในอาคารชุด
               ซึ่งรวมถึงการน าห้องชุดปล่อยเช่ารายวันและรายชั่วโมงเป็นโมฆะหรือไม่ ศาลได้มีค าพิพากษาว่า แม้ข้อบังคับ
               ดังกล่าวจะเป็นการจ ากัดสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการที่จะใช้ห้องชุดโดยชอบ แต่เนื่องจากมติดังกล่าวเป็น

               มติที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งผ่านโดยมติเสียงข้างมากของที่ประชุมสามัญเจ้าของร่วมและนิติบุคคลอาคารชุดได้
               น าไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้ว

                       ประเด็นที่  2  การปล่อยเช่าเป็นการละเมิดมติข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดหรือไม่ ศาลพิพากษา
               โดยให้เหตุผลว่าเป็นการละเมิดเนื่องจาก จ าเลยเป็นเจ้าของร่วมในอาคารชุดของโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

               ข้อบังคับดังกล่าวโดยเคร่งครัด  ทั้งนี้  เพื่อความสงบสุขของการอยู่ร่วมกันเจ้าของร่วมโดยจ าเลยได้ฝ่าฝืน
               ข้อบังคับด้วย การน าอาคารชุดออกเช่ารายวันและมีการประกาศโฆษณาให้เช่าในอินเทอร์เน็ต แม้ว่าการน า
               ออกให้เช่าเพื่อหาประโยชน์ตามสมควรโดยไม่ได้เจตนาประกอบกิจการการค้าหรือให้เช่าเป็นหลักก็ตามแต่ ก็
               ถือว่าเป็นการกระท าที่ขัดต่อข้อบังคับของโจทก์และก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อเจ้าของร่วมที่พักอาศัยใน
               อาคารนิติบุคคลจึงเป็นการกระท าละเมิดต่อความเสียหายแก่โจทก์


                        นอกจากปัญหาที่กล่าวถึงในข้างต้นได้ ยังมีปัญหาการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน (level playing field)
               ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาตและผู้ปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม Base case นี้ยังไม่
               ถูกแก้ไข โดยแพลตฟอร์มและผู้ปล่อยเช่าไม่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ โรงแรมฯ 4 ประการ ได้แก่ (1)  ไม่มี
               ใบอนุญาต แต่ประกอบธุรกิจได้โดยอาศัยความคลุมเครือของพระราชบัญญัติโรงแรมฯ (2) ไม่มีผู้จัดการโรงแรม
               เพื่อดูแลความเรียบร้อยอย่างที่โรงแรมทั่วไปต้องมี (3) ไม่ต้องแจ้งข้อมูลรายชื่อผู้เข้าพักและการเข้าพักของคน

               ต่างด้าวต่อกรมการปกครอง และ (4) ไม่อยู่ภายใต้ข้อก าหนดให้ต้องรักษามาตรฐานบริการ

                       อย่างไรก็ดี แม้จะไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับตามพระราชบัญญัติโรงแรม แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงใน
               ธุรกิจแพลตฟอร์มที่พัก ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหลายแห่งจึงก าหนดให้ผู้ปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ที่
               เปิดให้จองห้องพักผ่านแพลตฟอร์มของตนต้องรักษามาตรฐานต่าง ๆ และเปิดให้ผู้เข้าพักได้ให้คะแนน (rating)

               และแสดงความเห็น (feedback) ต่อบริการที่พักระยะสั้น

                       3.2 ต่างประเทศแก้ปัญหานี้อย่างไร (ถ้ามี) และการด าเนินการดังกล่าวเหมาะสมกับสังคมไทย
               หรือไม่ อย่างไร

                       เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการศึกษาแนวคิด และประสบการณ์จากต่างประเทศ
               ที่ประสบปัญหาเดียวกันและได้ก าหนดมาตราการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว หน่วยงานจึงควร
               ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาจากต่างประเทศ (โปรดดูตัวอย่างวิธีการศึกษาและเขียนรายงานในส่วนนี้จาก

               http://web.krisdika.go.th/data/outsitedata/article77/filenew/02Doc-9-4.pdf)
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245