Page 237 - kpiebook65020
P. 237

198
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                 มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยปัจจุบันมีการปรับรูปแบบการให้บริการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการท่องเที่ยวเช่น

               เปลี่ยนคอนโดมิเนียมจากการใช้เพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียวมาเป็นที่พักตากอากาศที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเช่าระยะ

               สั้นผ่านแพลตฟอร์มของออนไลน์ เช่น   Airbnb    ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม  Airbnb  ในเดือนมิถุนายน  ปี
               ค.ศ. 2020 ระบุว่าในปี ค.ศ 2019 ผู้ให้และ ใช้บริการ (Host and guest community) ของ Airbnb ได้สร้าง
               ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรง  (direct  economic  impact)  จ านวน  4  หมื่นล้านบาท  และแม้ว่า
               อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะได้รับ ผลกระทบจาก COVID-19 แต่ยังมีการจองที่พักของนักท่องเที่ยวไทยผ่าน

               แพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี (year-on-year)
                       การวิเคราะห์จากหน่วยงานเอกชนระบุว่าการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มมีการเพิ่มขึ้นอย่าง
               ต่อเนื่อง รายงานในปี พ.ศ. 2559 ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic
               Intelligence  Center)  ระบุว่าในปี  ค.ศ.  2010  มีจ านวนห้องพักในแพลตฟอร์ม  Airbnb  ในกรุงเทพฯ

               ประมาณ 600 ห้อง และต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 9,600 ห้องในปี ค.ศ. 2016 EIC ให้ความเห็นว่าในปี ค.ศ. 2016
               ธุรกิจโรงแรม ไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าคนละกลุ่ม อีกทั้ง ราคาของ Airbnb
               ใกล้เคียงกับโรงแรมไทย โอกาสที่จะเข้ามาแข่งขันอาจมากจากนักท่องเที่ยวจีนที่หันมาใช้ Airbnb มากขึ้นกว่า
               1 ล้านคน

                       จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ สภานการณ์ธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพฯ สะท้อนถึงภาวะการแข่งขันที่มี
               แนวโน้มรุนแรงขึ้นทั้งจากโรงแรมด้วยกันเอง และสินค้าทดแทนอย่าง อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิสอพาร์ต เมนต์ และ
               คอนโดมิเนียม  รวมถึง  ห้องพักในแพลตฟอร์ม  อาทิ  Airbnb  ซึ่งในปี ค.ศ.2018  มีจ านวนห้อง  (บ้านและ

               คอนโดมิเนียม) รวมทั้งสิ้นเกือบ 12,000 แห่ง แม้จะยังไม่มีกฎหมายควบคุมการด าเนิน ธุรกิจ แต่ธุรกิจมีการ
               เติบโตสูง สะท้อนจากอัตราการเช่าผ่าน Airbnb ในช่วงปี 2559-2561 ที่เพิ่มขึ้น 60% ต่อปี
                          จากสภาพปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น  การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มในกรุงเทพ  แบ่ง
               ออกเป็นสามประเด็นหลักดังนี้
                       (1) ปัญหาที่เกิดจากผู้เข้าพักที่พักผ่านแพลตฟอร์มซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยเดิม โดยเฉพาะกรณีผู้

               อยู่อาศัยในกรณีอาคารชุด (คอนโดมิเนียม)
                       (2) ปัญหาการก ากับดูแลการด าเนินการธุรกิจปล่อยที่พักผ่านแพลตฟอร์มในด้านมาตราฐานความ
               ปลอดภัยและการแข่งขันที่เท่าเทียมการไม่เข้าควบคุมก ากับกิจการยังท าให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม

               เนื่องจากผู้ปล่อยเช่าที่พักผ่านแพลตฟอร์มไม่จ าเป็นจะต้องขอใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการ  ต่างจากผู้
               ให้บริการโรงแรมซึ่งเป็นสินค้าทดแทนในตลาดที่พักตากอากาศที่ยังต้องขอใบอนุญาตเพื่อด าเนินกิจการ  การ
               บังคับใช้กฎหมายที่ต่างกันกับสินค้าทดแทนในตลาดเดียวกันส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจทั้งสองประเภทต้อง
               แบกรับต้นทุนที่ต่างกันส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการแข่งขันทางการค้า

                       (3) ในปัจจุบันการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เพื่อก ากับดูแลที่พักระยะสั้นที่เปิดให้

               จองผ่านแฟลตฟอร์มยังไม่สามารถท าได้ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ก าหนดนิยามและกฎเกณฑ์ที่
               ครอบคลุมธุรกิจการเช่าที่พักระยะสั้นเป็นการเฉพาะ  อีกทั้งกรมการปกครอง ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตาม
               พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไม่มีอ านาจในการควบคุมธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากพระราชบัญญัติโรงแรม
               ไม่ได้ก าหนดมาตราการครอบคลุมถึงการเช่าที่พักระยะสั้นตามแพลตฟอร์ม Airbnb นอกจากนี้ หน่วยงาน

               ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไม่มีหน้าที่โดยตรงใน
               การในการควบคุมตรวจสอบธุรกิจการเช่าที่พักระยะสั้น
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242