Page 137 - kpiebook65037
P. 137
136 ตัวชี้วัดหลักคุณธรรม
จริยธรรมในระบบรำชกำรไทย
จากบริบทของประเทศไทยนั้นความส�าคัญของจริยธรรมในแง่ที่
เป็นแนวทางข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติและพฤติกรรมของ
เจ้าหน้าที่รัฐไทยที่ผ่านมาได้ถูกก�าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
ข้าราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่างๆ ก่อนที่จะถูกบัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมส�าหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ...(ฉบับลงประชามติ) โดยก�าหนดไว้ในทุกขั้นตอนของการบริหาร
งานบุคคลและก�าหนดไว้โดยใช้ถ้อยค�าในลักษณะต่างๆ การก�าหนดให้มี
การจัดท�ามาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นมานี้เกิดขึ้นในครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 77 ก�าหนดว่า
“รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดท�ามาตรฐาน
ทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ
และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติ
มิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่”
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 279
และ 280 ได้ก�าหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม
ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท เพื่อประโยชน์ในการ
พิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใด เข้าสู่ต�าแหน่งที่มีส่วน
เกี่ยวข้องในการใช้อ�านาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนต�าแหน่ง
การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคล (คณะกรรมาธิการขับเคลื่อน
การปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป
ประเทศ, 2559, น. 2)