Page 16 - kpiebook65053
P. 16

“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น”  โดย สถาบันพระปกเกล้า

                       3.ข้อเสนอเพื่อสร้างบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนสู่สังคม

               ชนบทที่สมดุลและยั่งยืน
                       ในการที่จะให้ขับเคลื่อนให้สังคมชนบท เป็นสังคมที่พึงปรารถนาในอนาคตได้นั้น บริบททางเศรษฐกิจ
               สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศต้องเอื้ออ านวย จะต้องมีการปรับให้เอื้ออ านวยและไม่เป็น
               อุปสรรคต่อการสร้างชุมชนชนบทให้เข้มแข็ง โดยในระดับนโยบายควรมีการปฏิรูประบบต่าง ๆ ดังนี้

                              1) ปฏิรูประบบราชการจากการเน้นบทบาทที่ภาครัฐเป็นกลไกก าหนดนโยบาย เป็นหน่วยใน
               การด าเนินงาน มาเป็นผู้มีบทบาทในการเอื้ออ านวยและสนับสนุนในการเสริมพลัง (Empowerment) ให้ภาค
               พลเมือง และภาคชุมชนมีบทบาทส าคัญในการด าเนินงาน

                              2) ปฏิรูปการกระจายอ านาจ  โดยกระจายทั้งอ านาจหน้าที่ งบประมาณ ทรัพยากร ระบบ
               การจัดเก็บภาษีและการคลังท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนาพื้นที่ ปรับระบบการพัฒนา
               โดยยึดหลักเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area-Based) เพิ่มบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหาปัจจัยการ
               ผลิต เช่น เครื่องจักรกลทางการเกษตร การส่งเสริมการผลิต ให้เป็นส่วนหนึ่งของบริการสาธารณะขององค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการกระจายอ านาจให้ถึงชุมชน ให้ชุมชนมีอ านาจในการก าหนดนโยบาย

               สาธารณะและแผนพัฒนา การจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณ ในการปฏิรูปเพื่อการกระจายอ านาจให้ถึงชุมชน
               นี้จะต้องออกแบบระบบกลไกการปกครองท้องถิ่นใหม่ จากเดิมที่เป็นการปกครองท้องถิ่น (Local
               Government) ให้เป็นการบริหารจัดการท้องถิ่น (Local Governance) ที่ภาคพลเมืองมีอ านาจในการก ากับ

               คณะผู้บริหารท้องถิ่น ส าหรับแนวทางในการด าเนินการปฏิรูปการกระจายอ านาจ สามารถด าเนินการได้ตาม
               แนวทางต่อไปนี้
                                        (2.1) รัฐต้องมีนโยบายส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระ มีความ
               เข้มแข็งด้านการเงินการคลัง การบริหารทรัพยากรบุคคล การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดผล

               กระทบจากภายในและภายนอก โดยให้สามารถพึ่งตนเองได้ สามารถจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ได้
               มาตรฐานตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมและสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
               และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานต่างๆเพื่อสร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน มีระบบติดตาม
               ตรวจสอบประเมินผลที่ชัดเจน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการด าเนินงานเพื่อเอื้อให้องค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระมากขึ้น มีนวัตกรรมในการบริการสาธารณะเพื่อสนองความต้องการของ
               ประชาชนในท้องถิ่น
                                        (2.2) ปรับแก้กฎหมายและระเบียบการปกครองท้องถิ่นและพระราชบัญญัติสภา
               องค์กรชุมชนให้สามารถเอื้อประโยชน์และสนับสนุนร่วมกันได้ โดยก าหนดหลักเกณฑ์แผนการพัฒนาท้องถิ่นให้

               มาจากการริเริ่มของสภาองค์กรชุมชนและให้ชุมชนมีสิทธิและอ านาจในการจัดท านโยบายสาธารณะเพื่อให้
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปด าเนินการ
                                        (2.3) การกระจายอ านาจด้านการคลัง ให้มีการเพิ่มการจัดสรรงบประมาณให้กับ

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายของแต่ละท้องถิ่น และรองรับการด าเนินการตามภารกิจ
               ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีแหล่งรายได้จากสองแหล่ง คือ 1)
               แหล่งรายได้ที่มาจากรัฐบาลกลาง 2) แหล่งรายได้ที่มาจากการจัดหารายได้ของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพ
               สังคมและคุณภาพชีวิต ภายในชุมชนท้องถิ่น และเพิ่มอิสระให้ท้องถิ่นสามารถหารายได้เพิ่มนอกเหนือจาก
               รายได้ที่มาจากภาษี (non-tax revenue) โดยให้ท้องถิ่นค้นหาศักยภาพของตนเองและค้นหาความต้องการ

               ของประชาชนในพื้นที่ และจัดหารูปแบบบริการเฉพาะตัวเพื่อน าไปสู่การสร้างรายได้ เช่น รายได้จากการเก็บ






                                                           15
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21