Page 102 - kpiebook65064
P. 102
52 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ตารางที่ 3.1 กลุ่มเป้าหมายในการสำรวจข้อมูลความคิดเห็นต่อความมีธรรมาภิบาลระบบอภิบาลยา
ขั้นตอนระบบอภิบาลยา กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขั้นตอนที่
1
- ผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบาย ทั้งภาครัฐและเอกชน
การขึ้นทะเบียนตำรับยา
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของ อย.
- เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล
- บริษัทยาที่ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและองค์การเภสัชกรรม**
ขั้นตอนที่ 2 - ผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบาย ทั้งภาครัฐและเอกชน
การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลัก
แห่งชาติ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของ อย.
- เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล
- ผู้ปฏิบัติงานในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียา
หลักแห่งชาติเจ้าหน้าที่ของอย.เป็นต้น**
- สปสช. กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม**
ขั้นตอนที่ 3 - ผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบาย ทั้งภาครัฐและเอกชน
การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของ อย.
- เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล
-บริษัทยา / ตัวแทนขายยาในระดับสถานพยาบาล**
ที่มา: คณะผู้วิจัย
หมายเหตุ: **อาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึก
แบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนของระบบอภิบาล
มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาตามความคิดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(โปรดดูแบบสอบถามในภาคผนวก ช. แบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงของธรรมาภิบาล
ในระบบอภิบาลยาของประเทศไทย) โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามกับ
กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนจะนำไปวิเคราะห์ถึงระดับทัศนคติที่มีต่อกระบวนการและ
องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในระบบอภิบาลยาต่อไป
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบสอบถาม
ระบบอภิบาลยา (Pharmaceutical Governance System) คือ ระบบการบริหารจัดการ
การควบคุม และการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับยาของภาครัฐที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน ประกอบด้วย
สามขั้นตอน ได้แก่ (1) การขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) (2) การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียา
หลักแห่งชาติ (Selection) และ (3) การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) โดยมี
รายละเอียดของกระบวนการอภิบาลยา ประกอบด้วย
บทที่ 3
สถาบันพระปกเกล้า