Page 103 - kpiebook65064
P. 103
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 53
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
1. การขึ้นทะเบียนยา (Registration) คือ ขั้นตอนเกี่ยวกับการขออนุญาตเพื่อนำเข้า
ผลิต และขายยาตัวใดตัวหนึ่งในประเทศ และ ขั้นตอนการสั่งเพิกถอนไม่ให้มีการนำเข้า
ผลิต และขายยาในประเทศ โดยขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนตำรับยายังรวมถึงการทบทวน
และปรับปรุงทะเบียนตำรับยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยให้มีเหมาะสมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
2. การคัดเลือกยา (Selection) คือ ขั้นตอนการคัดเลือกยาที่ผ่านการขึ้นทะเบียนยาเข้าสู่
บัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเป็นบัญชียาที่ถูกนำไปใช้ในสถานพยาบาลของรัฐ
3. การจัดซื้อ (Procurement) คือ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการนำยาเข้าสู่บัญชีสถานพยาบาล
ของรัฐ ทั้งในการคัดเลือกยาและการจัดซื้อยาที่ใช้ในระดับสถานพยาบาลของรัฐ ได้แก่
สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
4. ระบบตรวจการ (Inspection) คือ ระบบตรวจการคุณภาพยาในสถานพยาบาล ซึ่งในที่
นี้เป็นคำถามเกี่ยวกับความคาดหวังในอนาคตต่อการพัฒนาระบบตรวจการเพื่อส่งเสริม
ธรรมาภิบาล
5. การส่งเสริมการขายของภาคเอกชน (Promotion) คือ การส่งเสริมการขายยาของ
เอกชนต่อผู้ซื้อทั้งผู้บริโภค ผู้ใช้ยา (ในที่นี้หมายถึงแพทย์) และสถานพยาบาล ซึ่งในที่นี้
เป็นคำถามเกี่ยวกับความคาดหวังในอนาคตต่อการพัฒนาการควบคุมการส่งเสริมการขาย
เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล
ความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา (Risk of Good Governance in
Pharmaceutical System) คือ ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นในระบบอภิบาลยาที่ส่งผลให้ระบบ
ขาดความเป็นธรรมาภิบาล ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) ขั้นตอนการ
คัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) และขั้นตอนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล
(Procurement)
ส่วนกรอบแนวคิดที่ใช้ในแบบสอบถามจะยึดตามหลักธรรมาภิบาล โดยธรรมาภิบาลของ
ระบบอภิบาลยา (Good Governance in Pharmaceutical System) คือ ระบบอภิบาลยาที่เป็นไป
ตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหมายถึงระบบการบริหารจัดการ การควบคุม และการกำกับดูแลที่
เกี่ยวข้องกับยาของภาครัฐที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 5 ด้านคือ หลักนิติรัฐ (Rule of Law)
ความโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดรับชอบ (Accountability) การมีส่วนร่วม
(Participation) และประสิทธิภาพ (Efficiency)
บทที่ 3
สถาบันพระปกเกล้า