Page 98 - kpiebook65064
P. 98
48 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
3.1.2 การระบุลักษณะโครงสร้าง (Structure) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์
และบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 จะทำให้คณะผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์
องค์ประกอบตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อโครงสร้าง (Structure) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholders) ซึ่งสะท้อนขั้นตอนของระบบอภิบาลยาที่สำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1
การขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
(Selection) และขั้นตอนที่ 3 การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) เพราะความ
สำคัญของการระบุลักษณะโครงสร้างขั้นตอนของระบบอภิบาลยาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้
บริบทของประเทศไทยทั้งทางกฎหมาย และทางปฏิบัติอย่างรอบด้านย่อมเป็นประโยชน์ต่อการ
วิเคราะห์และจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละกระบวนการให้ชัดเจนมากขึ้น อาทิ เป้าหมาย
แนวทางการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสอดคล้อง และ/หรือความแตกต่าง
ของวัตถุประสงค์ที่แต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้เป็นหลักปฏิบัติว่ามีธรรมาภิบาลหรือไม่อย่างไร
โดยการระบุโครงสร้างและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเน้นในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
ในระดับชาติ
3.1.3 วิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงของระบบอภิบาลยาในระดับ
นโยบาย
จากขั้นตอนการศึกษาทั้ง 2 ขั้นตอนข้างต้นจะนำไปสู่การวิเคราะห์สังเคราะห์ประเด็น
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระบบอภิบาลยาในสามขั้นตอนที่อาจเกิดขึ้นในระดับโยบาย
3.1.4 การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการศึกษาครั้งนี้ให้ความสำคัญกับข้อเสนอ 2 ส่วน ได้แก่
(1) แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างระบบอภิบาลยา และ(2) แนวทางการปรับปรุงการกำกับดูแล
ระบบอภิบาลยาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลขึ้น
บทที่ 3
สถาบันพระปกเกล้า