Page 257 - kpiebook65064
P. 257
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 207
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
หรือเกิดปัญหาเท่านั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า “ทะเบียนยา
มันตลอดชีพไม่มีการทบทวน เขาบอกว่าถ้าต้องมาขึ้นทุก 5 ปีจะเป็นภาระ
ของเจ้าหน้าที่ที่ไม่พอ จึงไม่ให้ต้องมาขึ้นแต่ให้มีระเบียบการทบทวนทะเบียน
ยาตำรับแทน แต่ก็ไม่เคยได้เอาทะเบียนยาออกได้สักที ถ้าพูดตรง ๆ คือมี
การแทรกแซงจากธุรกิจ ถ้าการเอาทะเบียนยาออก ธุรกิจเขาเดือดร้อน
แม้ว่าจากการตรวจสอบยาจะพบว่ายานั้นให้ผลที่ไม่ค่อยน่าพึงพอใจ แต่ธุรกิจ
ก็จะอ้างว่ายังไม่มีกรณีคนตายจากการใช้ยานั้น” 11
- ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
และบริษัทยา แม้ว่ามีข้อบังคับหรือความพยายามเพื่อป้องกันและ
หลีกเลี่ยงให้เกิดการพบปะกันของสองฝ่าย แต่ในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่
หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะถ้าเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยในเอกสารหรือกระบวนการ
ของการขึ้นทะเบียนตำรับยาก็จำเป็นต้องเปิดให้มีการขอปรึกษาเป็นระยะ ๆ
12
ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนยังมีความ
จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายและในปัจจุบันยังทำน้อยเกินไปเพราะ “ทุกครั้ง
ที่จะปรับเปลี่ยนกฎอะไรแบบนี้ ก็มีให้เราเข้าไปให้ข้อมูล แต่ควรจะชัดเจนว่า
ทุกคนให้ความคิดเห็นแบบนี้ แล้วพิจารณาว่าดีหรือไม่ดี แล้วจึงค่อยดึงเอา
เข้าไปในนโยบาย ตอนนี้มีการรับฟังความคิดเห็น แต่บางครั้งเราไม่รู้ว่าเขา
เอาไปใช้อย่างไร อย่างที่หนึ่งขอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าไปก่อน อย่างที่
สองรับฟังเสร็จต้องชัดเจนว่าอันไหนที่เขาจะดำเนินการ” 13
- การขอข้อมูลเรื่องสิทธิบัตรยาในการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากบริษัทเอกชน
แม้จะมีระเบียบออกมารองรับ แต่ใช้บังคับอย่างลำบากเนื่องจาก พรบ.ยา
พ.ศ.2510 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ ทำให้การขอข้อมูลสิทธิบัตรนี้เป็นเรื่องของความ
สมัครใจ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า “เราจึงเสนอว่าในการขึ้นทะเบียนยา
นั้น ให้บริษัทที่จะขึ้นขอข้อมูลที่จะขึ้นสิทธิบัตรด้วย ปรากฏว่าเขาก็ออกเป็น
ระเบียบ แต่บังคับไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เขาเลยให้บ้างไม่ให้
บ้าง ไม่รู้จะบังคับเขายังไง บางบริษัทก็ให้แบบคนเรื่องคนละราว” 14
(2) การปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยา
ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นตรงกันว่า เนื่องจากภาระงานที่มีอยู่มากและศักยภาพในด้าน
ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอยู่จำกัด โดยเฉพาะการอ่าน
11 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F,วันที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2556
12 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I. J. และ K,วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
13 ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P,วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
14 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F,วันที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2556
บทที่ 6
สถาบันพระปกเกล้า