Page 255 - kpiebook65064
P. 255

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   205
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                     เมื่อวิเคราะห์ภาพรวมของกระบวนการการขึ้นทะเบียนตำรับยา สรุปได้ว่าสิ่งที่ผู้มี

                           ส่วนได้ส่วนเสียทั้งสามกลุ่ม มีความคิดเห็นว่าเห็นด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ กฎหมาย/กฎระเบียบ
                           (ค่าเฉลี่ย 5.08 หรือคิดเป็น 51%) รองลงมา ได้แก่ กระบวนการและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (ค่าเฉลี่ย

                           5.76 หรือคิดเป็น 58%) และความคิดเห็นที่มีต่อคณะกรรมการ คณะทำงาน และผู้เชี่ยวชาญ
                           (ค่าเฉลี่ย 5.82 หรือคิดเป็น 58%) ตามลำดับ

                                     ในส่วนองค์ประกอบของธรรมาภิบาลที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นว่า
                           เห็นด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) (ค่าเฉลี่ย 5.29 หรือคิดเป็น 53%)

                           และประเด็นนิติรัฐ (Rule of Law) (ค่าเฉลี่ย 5.30หรือคิดเป็น 53%) ซึ่งค่าคะแนนต่างกันเพียง
                           0.01 เท่านั้น รองลงมา ได้แก่ ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)(ค่าเฉลี่ย 5.48 หรือ

                           คิดเป็น 55%) การมีส่วนร่วม (Participation) (ค่าเฉลี่ย 5.83 หรือคิดเป็น 58%) และความ
                           โปร่งใส (Transparency) (ค่าเฉลี่ย 6.09 หรือคิดเป็น 61%) ตามลำดับ

                                     ดังนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุมของระดับความคิดเห็นเฉลี่ยในกระบวนการขึ้น
                           ทะเบียนตำรับยา หรือมุมมององค์ประกอบของธรรมาภิบาลสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไข

                           ในกระบวนการขึ้นทะเบียนยามากที่สุด คือ การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย เนื่องจากมีค่าเฉลี่ย
                           ต่ำที่สุดรองลงมา ได้แก่ การแก้ไขปัญหาในเรื่องของความมีประสิทธิภาพ และความพร้อมรับ

                           ผิดรับชอบ ตามลำดับ

                                6.1.2 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก


                                     จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการขึ้นทะเบียนยา พบว่า
                           ประเด็นปัญหาในการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ส่งผลต่อความเสี่ยงธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา

                           ได้แก่

                                     (1) ความไม่ครบถ้วนในเนื้อหาสาระและความล้าสมัยของกฎหมายหลัก

                                       จากการสัมภาษณ์เชิงลึกหลายฝ่ายเห็นว่าความล้าสมัยของพระราชบัญญัติยา
                           พ.ศ.2510 ทำให้เนื้อหาสาระของกฎหมายขาดความทันสมัย ดังนั้น มาตรการหรือข้อเสนอ

                           ในการพัฒนาและปรับปรุงการขึ้นทะเบียนตำรับยาจึงไม่สามารถทำได้มากนัก เพราะสำนักงาน
                           คณะกรรมการอาหารและยาไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่าการที่

                           กฎหมายในปัจจุบันไม่ได้รับการแก้ไขหรือยกร่างใหม่เกิดจากข้อติดขัดของหลายฝ่ายที่ได้รับ
                           ผลกระทบ “กฎหมายไม่ทันสมัยโดยเฉพาะพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 เพราะติดปัญหาที่รัฐบาล
                           และฝ่ายการเมือง โดยได้เคยเข้าไปร่วมร่าง/แก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวตั้งแต่จบปริญญาเอกใหม่ ๆ

                           ซึ่งเลขาธิการ อย. ที่ริเริ่มในขณะนั้นก็เกษียณอายุไปแล้ว อีกทั้งร่างกฎหมายฯ ฉบับใหม่ก็มีมาตรา
                           ใหม่ที่ทำให้หลายฝ่ายเสียประโยชน์ ซึ่งเป็นผลทำให้ อย. ไม่มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง

                           เพื่อวางมาตรการใหม่ ๆ”  หรือการออกกฎหมายใหม่อาจส่งผลต่อหลายวิชาชีพดังที่ผู้ให้สัมภาษณ์
                                                 6


                                 6  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A. วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556



                                                                                                             บทที่ 6
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260