Page 259 - kpiebook65064
P. 259
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 209
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
กระบวนการและเวลาการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจะไม่ถูกนับใน
กระบวนการขึ้นทะเบียนยาที่กำหนดในกรอบเวลาการทำงานของ อ.ย. ทำให้
การพิจารณาตำรับยาบางประเภทต้องใช้ระยะเวลานานถึงสองปี ผู้ให้
สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า “มีการกำหนดระยะเวลาการขึ้นทะเบียนที่แน่นอน
แต่จะนับเวลาเฉพาะระยะเวลาที่เอกสารที่อยู่ในการพิจารณาของ อย. แต่จะ
ไม่นับเวลาที่ต้องส่งเรื่องไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและระยะเวลาของการ
แก้ไข เช่น ภายใน 120 วันทำการ เมื่อกระบวนการภายในอย. ทำถึงวันที่
20 วันทำการ แล้วส่งเรื่องไปให้ข้างนอกพิจารณาเป็นเวลา 3 เดือนถึงกลับ
มาถึง อย. อย.ก็จะนับว่าเป็นวันที่ 21 วันทำการ ทำให้ระยะเวลาการ
พิจารณาจึงยาวนานมาก ซึ่งระยะเวลาการขึ้นทะเบียนที่เป็นจริงจะยาวนาน
ถึง 2-3 ปีโดยเฉลี่ย” 18
- ความโปร่งใสของผู้เชี่ยวชาญ แม้จะมีการกำหนดระเบียบให้ผู้เชี่ยวชาญ
ประกาศการมีส่วนได้ส่วนเสียของตนเองและไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ
ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านทะเบียนตำรับยา แต่ในทางปฏิบัติเนื่องจากความ
เชี่ยวชาญในสาขาวิชาหรือเรื่องนั้น ๆ มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนน้อย ทำให้บางครั้ง
บริษัทเอกชนสามารถ “คาดการณ์” ได้ว่าผู้เชี่ยวชาญคนใดที่จะมาพิจารณา
ตำรับยาที่ขอขึ้นทะเบียน เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่า “เวลาที่เรา
ส่งตำรับไปให้ผู้เชี่ยวชาญบางท่านดู บางท่านก็ปฏิเสธเลยเพราะเคยทำวิจัย
กับบริษัทนั้นอยู่ ผู้ทรงคุณวุฒิใน field มันแคบทำให้รู้กันทั่ว” 19
(3) การได้มาและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการยา
ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าที่มาของคณะกรรมการยาตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510 ส่วนใหญ่
เป็นคณะกรรมการที่มาโดยตำแหน่ง ส่วนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุขมีการแทรกแซงและเปลี่ยนบ่อย ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเห็นว่า “ปัญหาของ
คณะกรรมการยาบ้านเรา เนื่องจากบ้านเราได้เข้ามาโดยการแต่งตั้งโดยตำแหน่งเยอะ
มีผู้เชี่ยวชาญไม่มาก ถ้าสำนักงานเลขาที่ชงเรื่องไม่แข็ง ไม่ base on ที่วิชาการ ก็จะมีปัญหา”
20
ขณะที่คณะกรรมการที่มาจากผู้เชี่ยวชาญมีจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ ในด้านการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการยากลับมีการประชุมและมีกระบวนการทำงานไม่ต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของ
คณะกรรมการต้องพึ่งพาคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการยาแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ
และการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการและ
ฝ่ายวิชาการของคณะกรรมการยา รวมถึงทำหน้าที่ในการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการยาพิจารณา
18 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A. วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
19 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I. J. และ K,วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
20 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F,วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
บทที่ 6
สถาบันพระปกเกล้า