Page 258 - kpiebook65064
P. 258

208           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                   ตำรับยาที่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาเป็น

                   ผู้พิจารณาร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ก็มีปัญหาในการปฏิบัติงาน อาทิ

                                     - การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยา เนื่องจาก อย. มีจำนวน
                                       ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยาไม่มากนัก ประกอบกับการพิจารณาตำรับยา

                                       ต้องใช้องค์ความรู้ขั้นสูงและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงจำเป็นต้องให้
                                       ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยพิจารณา ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า
                                       “การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยา จึงต้องอาศัยการส่งตำรับยา

                                       ให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาตรวจสอบ ซึ่งมักมีปัญหาล่าช้าและไม่เต็มใจที่
                                       จะเข้ามาช่วยเหลืองานตรงนี้ แม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะ

                                                                               15
                                       ข้อมูลยามีเป็นจำนวนมาก “มาเป็นรถเข็น”  หรือผู้ให้สัมภาษณ์บางท่าน
                                       มองว่าการไม่มีผู้เชี่ยวชาญของตนเองทำให้ อย. ต้องยึดถือข้อวินิจฉัยของ
                                       ฝ่ายผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก “เนื่องจาก อย.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญของตัวเอง ความ

                                       สามารถในการดีลกันก็เลยจะไม่เท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้น อย. จึงไม่ค่อย
                                       อำนาจในการโต้เถียง ไม่มีองค์ความรู้ที่จะไปเถียง เมื่อเลือกเขาแล้วก็ต้อง

                                       เชื่อเขา เพราะองค์ความรู้อยู่ที่เขา” 16

                                     - ค่าตอบแทนการอ่านทะเบียนตำรับยาต่ำ ทั้งที่มีภาระงานมากเพราะข้อมูล
                                       ในการพิจารณามีจำนวนมาก ทำให้การพิจารณาตำรับยามีความล่าช้า ซึ่ง
                                       สัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมของการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ อย. ไม่สามารถ

                                       เรียกเก็บได้มากกว่าประกาศแนบท้ายใน พรบ.ยา พ.ศ. 2510 ทำให้ไม่มีการ
                                       ปรับปรุงค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่าฝ่ายเอกชน

                                       ยินดีที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มจากที่เป็นอยู่ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า
                                       “การขึ้นทะเบียนยาในหลายประเทศ ค่าธรรมเนียมจะสูง แต่ของเราไม่เก็บ
                                       ค่าธรรมเนียมจึงเหมือนกับเราเงินของภาคประชาชนมาช่วยภาคเอกชน

                                       ซึ่งมันทำให้พูดง่ายๆ ว่าที่เราทำอยู่นี่เหมือนกับทำฟรี ต้องอนุมัติ ต้องมารับ
                                       ผิดชอบ วิเคราะห์ให้กับเอกชน” 17

                                     - การใช้ดุลพินิจในการพิจารณาเป็นหลัก มีสาเหตุจากมาตรฐานการทำงาน

                                       ของผู้เชี่ยวชาญ แต่ละคนมีดุลพินิจและองค์ความรู้ในการพิจารณา
                                       แตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญบางท่านให้ความเห็นต่อตำรับยาได้ดี แต่บางท่าน

                                       กลับไม่ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณานัก

                                     - ระยะเวลาในการพิจารณา แม้จะมีกรอบเวลาให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านทะเบียน
                                       ตำรับยาแต่ยังเกิดความล่าช้า เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้น


                         15  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ A. วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
                         16  ผู้ให้สัมภาษณ์ O และ P,วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
                         17  สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I. J. และ K,วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557



                   บทที่ 6
                   สถาบันพระปกเกล้า
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263