Page 343 - kpiebook65064
P. 343
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 293
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
3) ขั้นตอนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก
การจัดซื้อยาและการบริหารยาในระดับสถานพยาบาลซึ่งสถานพยาบาลแต่ละแห่งมีสิทธิ
ในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาของสถานพยาบาลและจัดซื้อยาได้ตามความต้องการของ
สถานพยาบาลนั้น ๆ ภายใต้ระเบียบการจัดซื้อยาและแนวนโยบายของกระทรวง
สาธารณสุข ได้แก่ 1) ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์
ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543 2) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
ด้านการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหาร
เวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ 1) คณะ
กรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด 2) แพทย์ผู้มีความประสงค์ใช้ยา และ 3) ผู้จัด
จำหน่ายยาและผู้แทนยา
ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาในประเทศไทย ทางคณะ
ผู้วิจัยได้สรุปความเสี่ยงออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) ประเด็นความเสี่ยงจากการขึ้นทะเบียนตำรับยา
2) ประเด็นความเสี่ยงจากการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ และ 3) ประเด็นความเสี่ยงใน
การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล โดยผลการศึกษาได้พบความเสี่ยงของระบบอภิบาลยาดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงของกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา
พบว่ามีจุดเสี่ยงสำคัญในกฎหมายหลัก คือ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และองค์กรที่
ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนยา คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีความเสี่ยง ดังนี้
(1) ความเสี่ยงอันเกิดจากความไม่ครบถ้วนและไม่ทันสมัยของกฎหมายขึ้นทะเบียน
ตำรับยา เนื่องจากพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ไม่มีความทันสมัย ทำให้ไม่เอื้อ
อำนวยต่อสถานการณ์การขึ้นทะเบียนยาในปัจจุบัน อาทิ การกำหนดอัตราการเก็บ
ค่าธรรมเนียมที่ตายตัว การไม่กำหนดกรอบเวลาทะเบียนตำรับยาที่ทำให้มียาเก่าและ
ล้าสมัยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจำนวนมาก และไม่มีการกำหนดข้อห้ามเรื่องความ
ขัดกันด้านผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
(2) ความเสี่ยงจากการได้มาและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการยา เนื่องจาก
คณะกรรมการยาที่มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งจำนวน
5-9 คน มีความเสี่ยงจากการถูกแทรกแซงผ่านทางการเมือง คณะกรรมการยา
ส่วนใหญ่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่มาจากส่วนราชการและมีสัดส่วนของผู้เชี่ยวชาญ
น้อย การทำงานของคณะกรรมการยาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ
คณะอนุกรรมการและผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้พิจารณามาก รวมถึงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงาน
ของ อย. ที่เป็นผู้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการยาพิจารณาเป็นหลัก
(3) ความเสี่ยงอันเกิดจากการการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการยาและ
ผู้เชี่ยวชาญ (Conflict of Interest) แม้จะมีหลักเกณฑ์กำหนดเพื่อแสดงความไม่มี
ส่วนได้ส่วนเสีย แต่เนื่องจากการบังคับให้ประกาศความมีส่วนได้ส่วนเสียขึ้นอยู่กับ
บทที่ 8
สถาบันพระปกเกล้า