Page 341 - kpiebook65064
P. 341

8.1	 สรุปผลการศึกษา



                                การศึกษาสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์
                           ความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาในประเทศไทย (Risk of Good

                           Governance in Pharmaceutical System) และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้าง
                           ธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาของประเทศไทย เพื่อให้เกิดเป้าหมายในสามด้าน ได้แก่ (1) การมี

                           ยาที่มีคุณภาพดีเพียงพอ และครอบคลุมต่อการรักษาสุขภาพของประชาชน (2) มีการใช้จ่าย
                           งบประมาณภาครัฐอย่างคุ้มค่า และ (3) ทำให้ระบบอภิบาลยาของรัฐปลอดจากการทุจริต ภายใต้
                           กรอบการศึกษาธรรมาภิบาลที่ประกอบด้วยหลักนิติรัฐ (Rule of Law) ความโปร่งใส

                           (Transparency) ความรับผิดรับชอบ (Accountability) การมีส่วนร่วม (Participation) และ
                           ประสิทธิภาพ (Efficiency)

                                โดยการศึกษาในที่นี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาในระดับมหภาคของระบบอภิบาลยา ได้แก่

                           ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา
                           ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการคัดเลือกและตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตในการ
                           นำยามาผลิตหรือจำหน่ายในประเทศไทย ขั้นตอนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ

                           (Selection) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of
                           Essential Medicines - NLEM) ของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และขั้นตอน

                           การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก การจัดซื้อยาและการ
                           บริหารยาในระดับสถานพยาบาล โดยทางคณะผู้วิจัยได้อาศัยวิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ได้แก่
   336   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346