Page 342 - kpiebook65064
P. 342
292 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
1) การศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) เพื่อสังเคราะห์กรอบการศึกษา
ธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาจากการศึกษานิยามของธรรมาภิบาลในมิติต่าง ๆ และ
แนวทางการศึกษาธรรมาภิบาลยาขององค์การอนามัยโลก การศึกษาแนวทางการพัฒนา
กลไกระบบยาและตัวอย่างกรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์ รวมถึงศึกษาสภาพการณ์ของ
ระบบอภิบาลยาจากข้อกฎหมาย ระเบียบ และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการ
ขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ และ การจัดซื้อยาเข้าสู่
สถานพยาบาลเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ถึงกระบวนการและปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
รวมถึงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Risk) ในแต่ละขั้นตอน
2) การสำรวจความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อสำรวจความคิดเห็น
เกี่ยวกับระบบอภิบาลยาทั้งสามขั้นตอนจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เกี่ยวข้องในระดับ
นโยบายทั้งภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา และเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล
3) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (In-depth Interviews) เพื่อให้ข้อมูลและ
ความเห็นเกี่ยวกับระบบอภิบาลยาทั้งสามขั้นตอนจากกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์คือ ภาครัฐ ภาค
เอกชน และภาคประชาสังคม
4) การสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อให้ความเห็นต่อผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง
และแนะนำแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะทางนโยบาย
โดยจากการศึกษาระบบอภิบาลยาในสามขั้นตอนพบว่าในสถานการณ์ปัจจุบันดังนี้
1) ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขึ้น
ทะเบียนตำรับยาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการคัดเลือกและตรวจสอบ
เพื่อออกใบอนุญาตในการนำยามาผลิตหรือจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีพระราชบัญญัติยา
พ.ศ. 2510 เป็นกฎหมายหลักที่ให้อำนาจทั้งคณะกรรมการยาผู้ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียน
อำนาจในการขึ้นทะเบียนของ อย. อำนาจในการเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนตำรับยา
และอำนาจในการยกเลิกทะเบียนตำรับยา ซึ่งมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ คณะกรรมการยา
และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากับบุคลากร
ที่เกี่ยวข้องผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยา และผู้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
2) ขั้นตอนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญใน
การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines -
NLEM) ของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติตามระเบียบสำนักนายก-
รัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2551 โดยบัญชียาหลักแห่งชาติ
ถือเป็นบัญชียาจำเป็น (Essential Drug List - EDL) ของประเทศ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ
ส่งเสริมให้เกิดระบบการใช้ยาของประเทศ ซึ่งมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ คณะกรรมการ
พัฒนาระบบยาแห่งชาติและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยากับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้เสนอยาเพื่อคัดเลือกเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
บทที่ 8
สถาบันพระปกเกล้า