Page 365 - kpiebook65064
P. 365

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   315
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                        - ให้ระบุแนวทางการรับผิดรับชอบ (Accountability) ของคณะกรรมการยา

                                         และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง
                                         (duty of care) และรอบคอบ โดยการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ

                                         ขึ้นทะเบียนตำรับยาสามารถดำเนินได้ตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติ และ
                                         สามารถตรวจสอบผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนตลอดทั้งกระบวนการได้อย่าง
                                         ชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ

                                        - การยกเลิกเพดานอัตราค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากพระราช

                                         บัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 5 กำหนดให้การออกค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
                                         เกี่ยวกับยาให้ออกโดยกฎกระทรวงแต่ต้องไม่เกินอัตราในบัญชีแนบท้ายของ

                                         พระราชบัญญัติ ทำให้ อย. ไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เหมาะสมและ
                                         สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยเห็นว่าควรยกเลิกข้อความ
                                         “ไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้” เพื่อให้ทาง อย. สามารถกำหนด

                                         ค่าธรรมเนียมที่เพียงพอต่อการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนตำรับยา

                                        - การกำหนดระยะเวลาการทบทวนทะเบียนตำรับยา เนื่องจาก พรบ. ยา พ.ศ.
                                         2510 มาตรา 86 ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการทบทวนทะเบียนตำรับยา ทำให้ยา

                                         ที่ขึ้นทะเบียนกลายเป็นทะเบียนตำรับยาตลอดชีพและมียาจำนวนมากที่ล้าสมัย
                                         และไม่ได้ทำการผลิตหรือจัดจำหน่ายแล้ว แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อ
                                         ทบทวนทะเบียนตำรับยาในเบื้องต้น แต่ในทางปฏิบัติยาที่จะได้รับการทบทวนอย่าง

                                         เร่งด่วน คือ ยาที่เกิดปัญหา ดังนั้น เพื่อให้การทบทวนทะเบียนตำรับยาสามารถ
                                         ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องจึงควรกำหนดกรอบเวลาการทบทวนทะเบียนตำรับยา

                                         แต่ละประเภทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมในมาตราดังกล่าว

                                       การตราพระราชบัญญัติยา พ.ศ...... ขึ้นมาใหม่ ในสาระสำคัญโดยควรปรับปรุง
                           สาระสำคัญดังนี้

                                        -  การกำหนดคุณสมบัติและแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการยาที่เป็น

                                         ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 6 กำหนดให้มี
                                         กรรมการโดยตำแหน่งทั้งสิ้น 14 คน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพียง 5-9 คน

                                         เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                                         จึงควรเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญให้มากขึ้น รวมถึงกำหนดคุณสมบัติ
                                         และหลักเกณฑ์ของการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้มาจาก

                                         ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามสาขาวิชาชีพ และกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของ
                                         คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกด้วย

                                        -  การกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการขึ้น

                                         ทะเบียนตำรับยาและการทบทวนทะเบียนตำรับยาให้ชัดเจน เนื่องจากพระราช-
                                         บัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 11 กำหนดเพียงว่าคณะกรรมการยามีอำนาจ



                                                                                                             บทที่ 8
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370