Page 91 - kpiebook65064
P. 91

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ    41
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                           ตารางที่ 2.4 สรุปแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา


                              
     แนวความคิด              องค์ประกอบ                          ที่มา
                             1.
 นิติรัฐ          มีกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ WHO (กฎหมาย)
                                 (Rule of Law) 35   ชัดเจนและครอบคลุม

                                                  มีการปรับกรุงกฎหมายและระเบียบให้ สำนักนายกรัฐมนตรี (หลักนิติธรรม)
                                                  ทันสมัย

                                                  มีการใช้กฎหมายและระเบียบอย่าง ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (สามารถ
                                                  เสมอภาค คงเส้นคงวาและไม่เลือก พยากรณ์ได้)
                                                  ปฏิบัติ                         ธนาคารโลก (นิติรัฐ)
                                                                                  UNDP (กฎหมายที่ยุติธรรม)
                                                                                  ก.พ.ร. (หลักนิติธรรม)
                                                  มีกระบวนการของการบังคับใช้ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (สามารถ
                                                  ก ฎ ห ม า ย แ ล ะ ร ะ เ บี ย บ อ ย่ า ง มี พยากรณ์ได้)
                                                  ประสิทธิภาพ






















                                35  คำว่า “Rule of Law”มีการแปลเป็นภาษาไทยที่แตกต่างกันเช่น นิติรัฐ นิติธรรม กฎหมายที่ยุติธรรม เป็นต้น โดย
                           ในทางนิติศาสตร์คำว่า “นิติรัฐ” และ “นิติธรรม” มีที่มาและความหมายแตกต่างกันจนมักสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านชาวไทย
                           อยู่เสมอ  โดยคำว่า “นิติธรรม” แปลมาจากคำว่า “Rule of Law” ซึ่งในทางนิติศาสตร์มีที่มาจากระบบกฎหมายของอังกฤษ
                           ส่วน “นิติรัฐ” แปลจากคำว่า “Rechtsstaat” ในภาษาเยอรมัน มีที่มาจากระบบกฎหมายเยอรมันและแพร่หลายในระบบ
                           กฎหมายของภาคพื้นยุโรป ซึ่งมีนักวิชาการบางท่านแปลคำว่า “Rechtsstaat” เป็นภาษาอังกฤษว่า “rule of law” จนอาจทำให้
                           เกิดความสับสนต่อที่มาและความหมายกับ rule of law ในระบบกฎหมายอังกฤษ
                                   โดยคณะผู้วิจัยได้เลือกใช้คำว่า “นิติรัฐ” เนื่องจากเป็นคำที่นิยมใช้และสอดคล้องกับระบบกฎหมายของประเทศ
                           ไทยในปัจจุบันที่มีพัฒนาการมาจากกฎหมายของภาคพื้นยุโรป (โปรดดูรายละเอียดความแตกต่างระหว่าง “นิติรัฐ” และ
                           “นิติธรรม” เพิ่มเติมในวรเจตน์ ภาคีรัตน์, หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม[ออนไลน์], 17 กันยายน 2553, สืบค้นเมื่อวันที่ 8
                           พฤษภาคม 2557 จาก http://www.enlightened-jurists.com/directory/60/Rechtstaat-vs-Rules-of-Law.html)
                                   อย่างไรก็ดีจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดธรรมาภิบาล ความหมายและนัยยะของ “rule of law” ตาม
                           หลักการธรรมาภิบาล มิได้มีความเป็นมาและรากฐานที่ผูกติดหรือเฉพาะเจาะจงกับระบบกฎหมายของประเทศใด ๆ เพื่อให้
                           “rule of law” ตามหลักการธรรมาภิบาเป็นหลักการทั่วไปที่สามารถนำไปประยุกต์หรือดัดแปลงใช้กับการบริหารงานภาครัฐ
                           และระบบกฎหมายที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ โดยคำว่า “rule of law” ตามหลักธรรมาภิบาลมักมีความหมายกว้าง ๆ
                           ที่สะท้อนนัยยะถึงการมีกฎหมายและระเบียบที่ชัดเจน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ มีการปรับปรุงให้ทันสมัย มีความน่าเชื่อถือและเป็น
                           ที่ยอมรับ มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเสมอภาค มีกระบวนการตราที่ชอบกับหลักการของระบบกฎหมาย เป็นต้น
                           ดังที่คณะผู้วิจัยได้สรุปเป็นองค์ประกอบตามตารางที่ 2.4



                                                                                                             บทที่ 2
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96