Page 90 - kpiebook65064
P. 90

40           โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                                  จากข้อค้นพบในการประเมินความโปร่งใสข้างต้น สรุปได้ว่าในกรณีประเทศไทย

                   ได้คะแนนการประเมินการขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยาจำเป็น และการจัดซื้อยาของระบบ
                   อภิบาลยาจัดอยู่ในช่วงความเสี่ยงต่ำ ประเทศไทยถือเป็นประเทศตัวอย่างของการจัดการระบบ

                   อภิบาลยาในสามขั้นตอนให้เกิดความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม WHO เห็นว่าในทุกขั้นตอนควรมีการ
                   เสริมสร้างความเข็มแข็งเพื่อพัฒนาให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น เช่น การพัฒนามาตรการป้องกัน
                   ความขัดกันของผลประโยชน์หรือปัญหาการมีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์ (Conflict of

                   Interest - COI) ในทุกขั้นตอน การพัฒนาระบบอุทธรณ์ร้องทุกข์ผลการพิจารณาทะเบียนตำรับยา
                   ให้ชัดเจนและให้คณะกรรมการผู้รับเรื่องอุทธรณ์ร้องทุกข์ผลการประเมินแยกขาดจาก

                   คณะกรรมการผู้พิจารณาทะเบียนตำรับยา การพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพยาในการ
                   จัดซื้อยาของสถานพยาบาล เป็นต้น

                                  แต่เนื่องจากงาน Measuring Transparency in Medicines Registration,
                   Selection and Procurement: Four country assessment studies เป็นการศึกษาที่เน้นการ

                   เปรียบเทียบกับขั้นตอนของการขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยาจำเป็น และการจัดซื้อยาของ
                   สี่ประเทศ ทำให้การศึกษาดังกล่าวยังมิได้ลงรายละเอียดและสถานการณ์ที่เป็นจริงของระบบอภิบาล

                   ยาในประเทศไทย ประกอบกับกรอบการวิจัยที่เน้นการศึกษาเฉพาะธรรมาภิบาลในประเด็นความ
                   โปร่งใสและวิธีการวิจัยที่อาศัยแบบสอบถามเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้การศึกษามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                   ในสามขั้นตอน จึงควรศึกษาธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาที่อาศัยกรอบการศึกษาที่ครอบคลุม

                   ในทุกมิติของธรรมาภิบาลและใช้วิธีการวิจัยโดยอาศัยทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก
                   เพิ่มเติม เพื่อหาความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาอย่างครอบคลุม 34


                   2.3		แนวความคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา

                      ของงานวิจัย



                         จากการศึกษาแนวคิดธรรมาภิบาล คณะผู้วิจัยได้สังเคราะห์กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
                   ครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างระบบอภิบาลยาที่มีธรรมาภิบาลอันประกอบไปด้วยการมีนิติรัฐ ความโปร่งใส
                   ความพร้อมรับผิดชอบ ความมีประสิทธิภาพ และความมีส่วนร่วมในขั้นตอนของระบบอภิบาลยา

                   ที่สำคัญ ได้แก่ การขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ
                   (Selection) และ การจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) สำหรับองค์ประกอบการ

                   วิเคราะห์ความมีธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาสามารถสรุปได้ตามตารางที่ 2.4 ซึ่งองค์ประกอบ
                   บางข้อเป็นการเพิ่มเติมโดยคณะผู้วิจัยเอง










                         34  ดูในบทที่ 3 แนวทางและขั้นตอนการศึกษา



                   บทที่ 2
                   สถาบันพระปกเกล้า
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95