Page 86 - kpiebook65064
P. 86
36 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
3.
ผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความไว้วางใจต่อรัฐบาล คือ การไร้ซึ่ง
ประสิทธิภาพและการขาดความโปร่งใสที่บั่นทอนความน่าเชื่อถือของ
หน่วยงานภาครัฐ 30
£ วัตถุประสงค์ของการประเมินความโปร่งใส
การประเมินความโปร่งใสในงานชิ้นนี้จะทำการประเมินภาพรวมของระดับความ
โปร่งใสและแนวโน้มความเสี่ยงต่อการทุจริตของระบบอภิบาลยาในสามส่วน ได้แก่ 1) การขึ้น
ทะเบียนตำรับยา 2) การคัดเลือกยาจำเป็น และ 3) การจัดซื้อยา การประเมินความโปร่งใสนี้
เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนากรอบด้านจริยธรรมในระดับชาติเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล
ในระบบอภิบาลยา และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการบริหารจัดการด้านยาผ่าน
กระบวนการปรึกษาหารือในระดับชาติ 31
£ วิธีการวิจัย
โดยการประเมินความโปร่งใสในงานชิ้นนี้อาศัยข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
เพื่อศึกษาความโปร่งใสของระบบอภิบาลยาในสามส่วน โดยการประเมินจะรวบรวมข้อมูลเชิง
คุณภาพจากตัวชี้วัดแบบโครงสร้าง (structural indicators) และมีการจัดระดับความโปร่งใสของ
ระบบอภิบาลยาในแต่ละส่วนด้วยวิธีการเชิงปริมาณ โดยวิธีการวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่ 32
1. การรวบรวมข้อมูล
โดยอาศัยแบบสอบถามสามชุดที่แยกตามระบบอภิบาลยาทั้งสามส่วน โดย
แบบสอบถามแต่ละชุดจะให้ผู้ตอบแบบสอบถาม (Key Informants - KIs) ในแต่ละส่วนเป็นผู้ตอบ
อย่างน้อย 10 คน เป็นขั้นต่ำ
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและการให้คะแนน
โดยอาศัยการประมวลผลจากแบบสอบถามในแต่ละข้อที่เป็นคำถามใน
ลักษณะปลายปิดแบบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง (ใช่/ไม่ใช่) โดยข้อที่ตอบ “ใช่” ให้คะแนนเท่ากับ
1 หมายถึงมีความเสี่ยงด้านการทุจริตต่ำ ส่วนข้อที่ตอบ “ไม่ใช่” ให้คะแนนเท่ากับ 0 หมายถึง
มีความเสี่ยงด้านทุจริตสูงที่แสดงถึงกระบวนการหรือการตัดสินใจที่ขาดมาตรฐานโดยเน้นการใช้
ดุลพินิจอย่างกว้างขวาง
ส่วนการให้คะแนนได้มีการจัดช่วงคะแนนที่สื่อถึงความเสี่ยงต่อการทุจริต
ระหว่าง 0.0 ถึง 10.0 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นห้าระดับ ดังนี้
30 WHO. (2006). Measuring Transparency in Medicines Registration, Selection and Procurement:
Four country assessment studies. p. 1-2.
31 Ibrd, p. 3.
32 Ibrd, p. 5-6.
บทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า