Page 87 - kpiebook65064
P. 87
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 37
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
0.0-2.0 2.1-4.0 4.1-6.0 6.1-8.0 8.1-10.0
ความเสี่ยงสูงมาก ความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงต่ำมาก
3. ผู้ตรวจสอบระดับชาติ (National Investigators)
โดยในการประเมินได้ทำการคัดเลือกผู้ตรวจสอบระดับชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่
ประเมินความโปร่งใสตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้ประเมินต้องเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ทำงานให้
กับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศนั้นและเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นที่รู้จักและสังกัดอยู่ในองค์กร
ที่น่าเชื่อถือ
£ ข้อค้นพบจากการประเมินความโปร่งใสของประเทศไทย
โดยผลของการประเมินความโปร่งใสในระบบอภิบาลยาเปรียบเทียบในสี่ประเทศ
คือ ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยพบว่าระบบอภิบาลยาในสามขั้นตอนมีคะแนนเฉลี่ยตาม
ตารางที่ 2.2 ประเทศไทยได้คะแนนสูงสุดในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยาและการคัดเลือกยา
จำเป็น ส่วนขั้นตอนการจัดซื้อยาได้ลำดับที่สองรองจากประเทศฟิลิปปินส์ คะแนนทั้งสามขั้นตอน
ของระบบอภิบาลยาในประเทศไทยจัดอยู่ในช่วงความเสี่ยงต่ำ 33
จากข้อค้นพบในสี่ประเทศพบว่าในทุกขั้นตอนมีจุดแข็งร่วมกัน คือ การมีระบบ
ข้อมูลข่าวสารสำหรับกรบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลการ
คัดเลือกยาจำเป็น และมีมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures -
SOP) เพื่อความโปร่งใสในการจัดซื้อยา แต่ทุกประเทศก็มีจุดอ่อนร่วมกันคือปัญหาการขาดรูปแบบ
หรือหลักปฏิบัติที่เกี่ยวกับความขัดกันของผลประโยชน์หรือปัญหาการมีส่วนไดส่วนเสียใน
ผลประโยชน์ (Conflict of Interest - COI) สำหรับสมาชิกในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนตำรับยาและการคัดเลือกยาจำเป็น
ตารางที่ 2.2 ค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการทุจริตในการขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยา
จำเป็น และจัดซื้อยาของลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย
การขึ้นทะเบียนตำรับยา 5.6 6.8 6.8 7.0
ปานกลาง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
การคัดเลือกยาจำเป็น 6.1 5.7 6.1 8.0
ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ
การจัดซื้อยา 6.9 7.1 8.5 7.1
ต่ำ ต่ำ ต่ำมาก ต่ำ
33 Ibrd, p. 7.
บทที่ 2
สถาบันพระปกเกล้า