Page 136 - kpi12626
P. 136
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 12
และไม่ขัดต่อกฎหมาย ให้เทศบาลลงมือดำเนินการได้ทันที ในทำนอง
เดียวกัน สมาชิกสภาเทศบาลต่างก็ปฏิบัติงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
โดยที่ในการประชุมสภาเทศบาลแต่ละครั้งก็จะมีการหยิบยกประเด็นปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนมานำเสนอให้แก่ฝ่ายบริหารได้รับทราบและ
เร่งรัดการดำเนินการแก้ไข อีกทั้งมีการตรวจสอบติดตามผลการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ของเทศบาลอย่างสม่ำเสมอ 26 คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริหารและพนักงานเทศบาลมุ่งแก้ไข
ปัญหาให้กับประชาชนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เมืองนกประสบอุทกภัยอย่างรุนแรง
ในปี พ.ศ.2549 ซึ่งส่งผลให้มีน้ำท่วมขังตัวเมืองเป็นเวลานานหลายสัปดาห์
บ้านเรือนและสถานประกอบการของประชาชนเสียหาย ชาวเมืองได้รับความ
เดือดร้อนเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลานั้น คณะผู้บริหารได้สั่งการให้เทศบาล
เร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าเทศบาลจะมิได้จัดเตรียม
งบประมาณเพื่อการดังกล่าวไว้มากนัก ก็ได้มีการอนุมัติให้นำเงินสะสมของ
เทศบาลมาใช้จ่ายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและเยียวยาความเดือดร้อนให้แก่
ประชาชนราว 10 ล้านบาทเศษ (ประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีในขณะนั้น) ในระยะต่อมาจึงส่งผลให้บรรดาผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล และพนักงานให้ความสนใจและตื่นตัวต่อการแก้ไข
ปัญหาให้กับประชาชนมากขึ้นตามมา
นอกจากนี้ คณะผู้บริหารทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำมีทัศนคติใน
การบริหารงานว่าเทศบาลมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของประชาชนมากกว่า
การมุ่งเก็บเงินสะสมไว้โดยมิได้นำมาใช้ประโยชน์ เทศบาลควรมีเงินสะสมไว้
เพียงพอเท่าที่กฎหมายกำหนดและสำหรับใช้ในการบริหารสภาพคล่องระยะ
สั้นของเทศบาล แต่ไม่ควรมีเงินสะสมเก็บไว้มากเกินความจำเป็น และถ้า
26 จากการวิเคราะห์เนื้อหาในรายงานการประชุมสภาเทศบาลในช่วงปี พ.ศ.2551 – 2553
สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โดยสมาชิกสภาเทศบาลและ
คณะผู้บริหารเป็นอย่างมาก มีการบันทึกรายละเอียดที่ชัดเจนว่ามีประเด็นปัญหาใดเกิดขึ้น
และร่วมกันหาทางออกว่าเทศบาลควรมีการดำเนินการเช่นใด ดังนี้เป็นต้น