Page 135 - kpi12626
P. 135
12 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
น้ำควบคู่ไปกับการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียคลุมพื้นที่เมืองนกทั้งหมดโดยมี
มูลค่าการลงทุนราว 250 ล้านบาท โดยการทำให้ท่อระบายน้ำมีขนาดใหญ่
ขึ้นและแยกท่อน้ำดีและน้ำเสียออกจากกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จราว
กลางปี พ.ศ.2554 ซึ่งเทศบาลได้รับเงินอุดหนุนจากส่วนกลางใน
ปีงบประมาณ 2552 และได้กู้เงินจากธนาคารออมสินมาสมทบในโครงการ
ลงทุนดังกล่าวราวร้อยละ 10 ของมูลค่าโครงการ
จากข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจหลักที่เทศบาลเมืองนกดำเนินการดังที่ได้
นำเสนอไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าเทศบาลจัดบริการให้แก่ประชาชนที่มีความ
หลากหลายและมีลักษณะของการให้บริการในเชิงรุกมากพอสมควร คำถาม
ในเรื่องนี้มีอยู่ว่าทำไมเทศบาลจึงเลือกที่จะจัดบริการให้แก่ประชาชนอย่าง
กว้างขวาง ถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลทำให้การบริหารสภาพคล่อง
ทางการเงินในระยะสั้นของเทศบาลมีความตึงตัวมากขึ้นและมีระดับเงิน
สะสมที่ลดน้อยลงก็ตาม? และทำไมคณะผู้บริหารของเทศบาลจึงกล้า
ตัดสินใจลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ถึงแม้ว่าจะก่อให้เกิดภาระหนี้ระยะยาว
แก่เทศบาลมากขึ้น? เมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับกรณีตัวอย่างของ
เทศบาลเมืองเก่าดังที่ได้นำเสนอข้างต้นประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูล
เอกสารและบทสัมภาษณ์ผู้บริหารของเทศบาลเมืองนก สามารถประมวลได้
ว่าคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองนกมีทัศนคติที่มุ่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและเน้น
การให้บริการแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ในขนาดและปริมาณที่เทศบาล
สามารถดำเนินการได้ภายใต้ฐานะทางการเงินที่เป็นอยู่ อีกทั้งคณะผู้บริหาร
ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการเงินการคลังและข้อมูลผลการทำงานของ
เทศบาลในการกำหนดนโยบายจัดบริการสาธารณะและการบริหารการเงิน
การคลังของเทศบาลอย่างเพียงพอ
ในด้านแรก คณะผู้บริหารของเทศบาล โดยเฉพาะนายกเทศมนตรี
ได้มอบนโยบายแก่พนักงานเทศบาลในการทำงานที่ชัดเจนว่าให้คำนึงถึง
การแก้ไขปัญหาและความต้องการเร่งด่วนของประชาชนเป็นหลัก หาก
ภารกิจใดเป็นหน้าที่ของเทศบาล เป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน