Page 137 - kpi12626
P. 137
12 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
หากเทศบาลจำเป็นจะต้องลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เกินกว่าศักยภาพ
ทางการเงินในระยะสั้นของเทศบาลก็จะต้องหาเงินกู้จากภายนอกเพื่อนำเงิน
27
มาใช้ในการลงทุนดังกล่าว ดังคำกล่าวของนายกเทศมนตรีเมืองนกว่า
“ถ้าเราไม่กู้เงินก็ไม่มีผลงาน และถ้าหากเรากู้แล้วมีปัญญาใช้หนี้
28
จะไปกลัวอะไร” ในทำนองเดียวกัน ผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลเมืองนก
มีมุมมองที่สอดคล้องกันว่า
“การก่อหนี้สำหรับเทศบาลมิใช่สิ่งเสียหาย ไม่ได้กู้มาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
การที่เทศบาลกู้เงินมาทำโครงการถือเป็นการลงทุนแบบหนึ่ง มีผลดี
ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งเทศบาลก็จะได้
กลับคืนมาในรูปของฐานภาษีและจำนวนเงินที่จะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นใน
อนาคต” (สัมภาษณ์วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.00-15.30 น.)
และเพื่อให้การบริหารงานเทศบาลตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ได้อย่างทันการณ์ภายใต้ฐานะทางการเงินของเทศบาลนั้น พบว่า
ผู้บริหารเทศบาลเมืองนกมีการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการเงิน
การบัญชีต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่การบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่มีอยู่ให้
เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการนำเม็ดเงินที่มีอยู่ไปใช้ในการจัดบริการให้แก่
ประชาชน อาทิ ฝ่ายการเมืองจะพยายามวิเคราะห์ว่าหากมีเงินรายรับเข้ามา
นั้นจะสามารถนำไปใช้ในงานใดได้เป็นลำดับแรก (จัดลำดับความสำคัญ)
คอยติดตามว่าโครงการที่บรรจุในเทศบัญญัติงบประมาณมีการเบิกจ่ายหรือ
27 ข้อมูลจากเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปี 2552 แสดงให้เห็นว่าเทศบาล
มีการก่อหนี้ระยะยาวต่างๆ ดังนี้ (1) เงินกู้สำหรับปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ (ระยะที่ 1) จากกองทุน
ส่งเสริมกิจการเทศบาล (กสท.) (2) เงินกู้เพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากธนาคารออมสิน
(3) เงินกู้เพื่อสร้างถนนพร้อมท่อระบายน้ำจำนวน 2 เส้นทาง และ (4) เงินกู้เพื่อปรับปรุง
โรงฆ่าสัตว์ (ระยะที่ 2) จากธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้เทศบาลมียอดเงินกู้คงค้าง ณ วันที่
11 กันยายน 2552 เท่ากับ 14.129 ล้านบาท
28 คำกล่าวนายกเทศมนตรีจากการสัมภาษณ์ปลัดเทศบาล วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554
เวลา 13.10-14.00 น.