Page 138 - kpi12626
P. 138
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 12
ได้ดำเนินการคืบหน้าเพียงใด หมั่นสอบถามว่าเทศบาลมีสภาพคล่อง
เพียงพอที่จะก่อหนี้ผูกพันเพื่อเริ่มต้นโครงการต่างๆ หรือไม่ ดังนี้เป็นต้น
อนึ่ง อาจมีข้อสงสัยว่าเทศบาลเมืองนกใช้จ่ายเงินงบประมาณใน
โครงการต่างๆ มากเกินจำเป็น จนส่งผลให้เงินสะสมของเทศบาลร่อยหรอ
เกินควรและมีสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นที่น้อยเกินไปหรือไม่? คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ในประเด็นนี้ ผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลเมืองนกให้ความเห็นว่า
“หากเทศบาลจัดบริการให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ โดยที่ยังคงบริหาร
สภาพคล่องให้เหมาะสม มิให้กระแสเงินสดตึงตัวเกินไป สามารถนำ
เงินสะสมมาใช้หมุนเวียนได้ซัก 3 เดือน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนเรื่องการก่อหนี้นั้น ถ้ามีกรอบวิเคราะห์ขีดความสามารถในการ
ก่อหนี้และกำหนดหลักเกณฑ์การกู้ที่ชัดเจนมากกว่าในปัจจุบันแล้ว
การก่อหนี้ของเทศบาลไม่มีปัญหาแน่นอน แถมเทศบาลสามารถให้
บริการประชาชนได้เต็มที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงานการลงทุนให้กับ
ประชาชน นี่เป็นภารกิจหลักของเทศบาล” (สัมภาษณ์วันพุธที่
2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.00-15.30 น.)
ดังนั้น กรณีตัวอย่างของเทศบาลเมืองนกจึงสะท้อนให้เห็นว่าการ
มุ่งเน้นการให้บริการอย่างเต็มที่ส่งผลให้ระดับความเพียงพอของการให้
บริการของเทศบาลโดดเด่นกว่าระดับการให้บริการของเทศบาลเมืองเก่าดังที่
ได้นำเสนอไว้ข้างต้น ทั้งในด้านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและระดับรายจ่าย
ของเทศบาลต่อประชากร ถึงแม้ว่าการมุ่งเน้นการจัดบริการอย่างรอบด้าน
ดังกล่าวจะส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นของเทศบาลเมืองนก
เกิดความตึงตัวบ้างก็ตาม (เทศบาลมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนและอัตราส่วน
เงินสดเท่ากับ 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ และมีเงินสะสมต่อขนาดรายจ่าย
เท่ากับร้อยละ 9.06) แต่ก็อาจเป็นนโยบายการบริหารการเงินและการจัด
บริการในเชิงรุกที่ได้ประโยชน์กลับคืนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น