Page 140 - kpi12626
P. 140

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    12


                        กรณีเทศบาลเมืองเก่าเป็นเทศบาลที่มีฐานะทางการเงินในระยะสั้น
                  ที่เข้มแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับเทศบาลกลุ่มตัวอย่างทั่วไป มีสภาพคล่อง

                  ทางการเงินในระยะสั้นที่สูงและมีสัดส่วนของเงินสะสมเป็นจำนวนมาก
                  แต่เทศบาลแห่งนี้อาจมีข้อจำกัดในด้านความเพียงพอของการจัดบริการให้
                  แก่ประชาชนเมื่อเทียบกับเทศบาลอื่นๆ ดังที่ได้นำเสนอไว้แล้ว กรณีตัวอย่าง
                  เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าการมีแนวนโยบายบริหารงานคลังแบบอนุรักษ์นิยม   คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  และเน้นการเก็บเงินสะสมไว้เป็นจำนวนมากย่อมไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนา

                  เมืองให้เจริญสมฐานะตามหลักการปกครองตนเองแต่อย่างใด และมิอาจ
                  กล่าวได้ว่าเทศบาลแห่งนี้มีฐานะการเงินที่เข้มแข็งในระดับที่น่าพอใจมากนัก

                        ส่วนกรณีของเทศบาลเมืองนกมีลักษณะการบริหารงานคลังในเชิงรุก
                  และมีการดำเนินภารกิจต่างๆ อย่างกว้างขวาง มีเงินสะสมไว้เท่าที่จำเป็น
                  เพื่อการบริหารสภาพคล่องระยะสั้น และถ้าหากจำเป็นต้องก่อหนี้เพื่อการ
                  ลงทุนแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนแล้ว คณะผู้บริหารของเทศบาลก็จะลงมือ

                  ดำเนินการอย่างไม่ล่าช้า ผลที่เกิดขึ้นก็คือเทศบาลสามารถจัดบริการให้แก่
                  ประชาชนที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าเทศบาลกลุ่มตัวอย่างแห่งอื่นๆ ดังข้อมูลที่
                  นำเสนอไว้แล้วข้างต้น ถึงแม้ว่าผู้บริหารเทศบาลจะต้องหมั่นติดตามการ
                  บริหารสภาพคล่องในระยะสั้นขององค์กรไม่ให้เกิดการสะดุดอยู่เป็นประจำ
                  ก็ตาม การที่จะมีผลการดำเนินงานของเทศบาลในลักษณะเช่นนี้จึงต้อง
                  อาศัยการจัดการและความเอาใจใส่ที่เพิ่มมากขึ้น


                        บทเรียนที่ได้รับจากการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง
                  ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการที่เทศบาลมีฐานะการเงินในระยะสั้นและมี
                  ความยั่งยืนทางงบประมาณในระดับที่ดี แต่ถ้าหากเทศบาลไม่สามารถจัด
                  บริการให้เพียงพอหรือเร่งลงมือดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ
                  ประชาชนให้เต็มศักยภาพทางการเงินทั้งในปัจจุบันและในอนาคตตามความ
                  จำเป็นแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนตามหลักการ
                  ปกครองตนเองแต่อย่างใด ในทางกลับกัน หากเทศบาลเน้นการจัดบริการ

                  สาธารณะอย่างเกินตัว จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145