Page 141 - kpi12626
P. 141
130 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ในระยะสั้น มีระดับเงินสะสมร่อยหรอหรือมีภาระหนี้ระยะยาวที่สูงแล้วนั้น
ย่อมส่งผลทำให้การบริหารงานของเทศบาลขาดความยั่งยืนและอาจส่งผล
ต่อเนื่องทำให้การจัดบริการของเทศบาลในอนาคตเกิดการสะดุดหรือ
ขาดตอนลงได้ ความเป็นไปได้ดังกล่าวนี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการปกครอง
ตนเองในระบอบประชาธิปไตยอีกเช่นกัน
ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ก็คือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะต้องใส่ใจต่อการตรวจสอบติดตามฐานะทางการเงินและการจัดบริการ
สาธารณะขององค์กรตนเองอย่างใกล้ชิด โดยอาศัยข้อมูลทางการเงินการ
บัญชีและงบประมาณที่มีอยู่ในการกำหนดนโยบายการทำงานอย่างจริงจัง
และต้องทำหน้าที่ของตนเองในเชิงรุก นอกจากนี้แล้ว การวิเคราะห์ฐานะ
ทางการเงินยังสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องรักษา
สมดุลในการบริหารการเงินการคลังและการดำเนินงานขององค์กรตนเอง
ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยการรักษาสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น
และภาระหนี้ในระยะยาวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการ
จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างรอบด้าน
ในประเด็นสุดท้าย บทเรียนจากกรณีตัวอย่างของเทศบาลทั้งสอง
ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าเครื่องมือการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประกอบไปด้วยกรอบวิเคราะห์ทั้ง 4 มิติเป็นกรอบการ
วิเคราะห์ที่มีเหตุมีผลและเชื่อมโยงเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน สามารถนำไป
ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ และมีความจำเป็นที่ผู้ที่ศึกษาประเมินฐานะทาง
การเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งต่างๆ จะต้องพิจารณาให้
ครบถ้วน จึงจะให้ภาพฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่รอบด้านและมีความชัดเจนถูกต้องอย่างเพียงพอดังที่ข้อเขียนในบทนี้
ได้นำเสนอไว้แล้วนั่นเอง