Page 157 - kpi12626
P. 157
1 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ถูกต้องสำหรับการตัดสินใจทางการบริหารและจัดบริการสาธารณะ และเพื่อ
ให้มีข้อมูลทางการเงินการบัญชีอย่างถูกต้องเพียงพอสำหรับใช้ในการ
ตรวจสอบติดตามประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงานและในการใช้
ประโยชน์จากสินทรัพย์ขององค์กร ทั้งนี้ ในระยะสั้น อาจกำหนดให้องค์กร
ปกครองท้องถิ่นใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐที่จัดทำขึ้นโดยสำนักมาตรฐาน
ด้านการบัญชีภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ไปพลางก่อน ส่วนในระยะยาวนั้น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบัญชีกลาง และสำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดิน ควรร่วมกันพัฒนามาตรฐานและนโยบายการบัญชีสำหรับใช้ใน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นการเฉพาะต่อไป
8.2.4 การตรวจสอบเชิงการบริหารร่วมกับการตรวจสอบ
การเงินการบัญชี
ข้อจำกัดของการตรวจสอบติดตามผลทางการเงินการบัญชี
(financial audit) ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือเป็นการประเมินผลที่ปลายน้ำ
(after the fact) หลังจากที่มีการบริหารจัดการหรือปฏิบัติงานตามแนว
นโยบายบริหารจัดการที่กำหนดขึ้นแล้ว ผลปฏิบัติการด้านการเงินการคลังจะ
ออกมาดีหรือไม่ดีส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารจัดการที่ต้นทาง
(upstream) ว่ามีการกำหนดมาดีมากน้อยเพียงใด
เป็นที่น่าเสียดายว่าการตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงาน
ของท้องถิ่นในปัจจุบัน (โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงาน
การตรวจเงินแผ่นดิน—สตง.) ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบทางการเงิน
การบัญชีเป็นหลักเท่านั้น โดยจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูก
ต้องของการทำบัญชี การรับ-จ่ายเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และการพัสดุ แต่ยัง
30
มิได้มีการตรวจสอบว่านโยบายการบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะ
30 อ้างอิงจากระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินฯ พ.ศ.2547 หมวดที่ 10
ว่าด้วยการตรวจเงิน และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการตรวจสอบภายในขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545