Page 74 - kpi12626
P. 74
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 3
สัดส่วนของรายจ่ายจากภาษีท้องถิ่นที่จัดเก็บเองราวร้อยละ 12.24 อย่างไรก็ดี
ในการสร้างกันชนทางการเงินนั้น เทศบาลนครกลับมีขีดความสามารถ
ที่ด้อยกว่าเทศบาลอื่นๆ ที่มีขนาดรองลงไป กล่าวคือเทศบาลนครมีขนาด
ของเงินสะสมเมื่อเทียบกับขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เพียง
ร้อยละ 25.4 โดยเฉลี่ย และในระหว่างปีงบประมาณ 2552 มีระดับเงินสะสม
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.09 เท่านั้น ในประเด็นนี้ เทศบาลเมืองและเทศบาล คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ตำบลสามารถสร้างหลักประกันความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการจัด
บริการสาธารณะโดยการรักษาระดับเงินสะสมได้สูงกว่าเทศบาลนครอย่าง
ชัดเจน
ในทำนองเดียวกัน เทศบาลที่มีจำนวนของประชากรและขนาดของ
งบประมาณรายจ่ายที่ต้องดูแลรับผิดชอบสูงกว่าเทศบาลทั่วไปโดยเฉลี่ย
หรือมีขอบเขตภารกิจกว้างขวางกว่าเทศบาลทั่วไป มีแนวโน้มที่จะใช้ความ
พยายามในการจัดเก็บภาษีในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งสามารถพิจารณาได้
จากอัตราส่วนรายจ่ายที่มาจากภาษีท้องถิ่น ดังเช่นเทศบาลที่มีประชากร
มากกว่า 5 หมื่นคนและ/หรือมีขนาดของงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ 400 ล้าน
บาทขึ้นไปมีสัดส่วนของรายได้จากภาษีที่จัดเก็บเองอยู่ระหว่างร้อยละ 13.9
ถึง 16.2 ของงบประมาณรายจ่าย ส่วนเทศบาลที่มีขอบเขตภารกิจกว้างขวาง
กว่าเทศบาลทั่วๆ ไปจะมีระดับการพึ่งพาตนเองทางการคลังประมาณร้อยละ
6.6 ของระดับรายจ่ายรวม อย่างไรก็ดี เทศบาลในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่ได้รับ
ผลกระทบจากสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก จนทำให้
ระดับเงินสะสมของเทศบาลในวันสิ้นปีงบประมาณ 2552 ร่อยหรอลงจากวัน
ต้นปีงบประมาณ 2552 ประมาณร้อยละ -3.24 ถึง -7.65 ข้อมูลจากการศึกษา
ในครั้งนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าเทศบาลที่มีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวาง
มักมีความตึงตัวในการบริหารงบประมาณรายจ่ายที่สูงกว่าเทศบาลทั่วไป
นั่นเอง