Page 75 - kpi12626
P. 75

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      ประเด็นสุดท้าย หากพิจารณาในภาพรวมของประเทศแล้วนั้น
                เทศบาลในจังหวัดต่างๆ มีความยั่งยืนด้านงบประมาณแตกต่างกันหรือไม่

                อย่างไร ในการตอบคำถามนี้ ผู้เขียนจึงนำอัตราส่วนความยั่งยืนทาง
                งบประมาณทั้ง 4 ประการที่ได้นำเสนอไว้แล้วมาสร้างเป็นดัชนีรวม
                (composite index) เพื่อสะท้อนถึงความยั่งยืนทางงบประมาณของเทศบาล
                โดยเฉลี่ยในแต่ละจังหวัด และสามารถนำไปเปรียบเทียบข้ามจังหวัดในรูป
                ของการจัดลำดับควอไทล์ (quartile ranking) จากค่าต่ำที่สุด (ควอไทล์ที่ 1) ไป

                                       11
                ค่าสูงที่สุด (ควอไทล์ที่ 4) ได้  ผลการวิเคราะห์แสดงดังแผนภาพที่ 4-1 พร้อม
                กับข้อมูลประกอบในตารางที่ 4-3 หน้าถัดไป ข้อมูลจากตารางและแผนภาพ
                ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในแต่ละจังหวัด
                มีความยั่งยืนทางงบประมาณที่แตกต่างกันออกไป จังหวัดที่เทศบาลกลุ่ม
                ตัวอย่างมีความยั่งยืนทางงบประมาณต่ำที่สุดโดยเฉลี่ย (ควอไทล์ที่ 1) อาทิ
                น่าน พะเยา เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สระแก้ว สตูล และปัตตานี

                เป็นต้น ส่วนจังหวัดที่เทศบาลกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยที่มีความยั่งยืนทาง
                งบประมาณที่สูงที่สุด (ควอไทล์ที่ 4) ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี
                เพชรบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น

                      ประเด็นเชิงนโยบายที่มีความสำคัญในที่นี้ก็คือจะเห็นได้ว่าเทศบาล
                ในจังหวัดภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีความ
                ยั่งยืนทางงบประมาณที่ไม่สูงนัก (จัดอยู่ในควอไทล์ที่ 1) จังหวัดเหล่านี้ได้แก่

                แม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เลย หนองบัวลำภู และ
                หนองคาย ซึ่งหมายความว่าเทศบาลในกลุ่มจังหวัดเหล่านี้โดยเฉลี่ยจะ
                ประสบกับข้อจำกัดในการจัดทำงบประมาณให้สมดุล และมีระดับเงินสะสม
                เมื่อเทียบกับขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่สูงมากนัก ฉะนั้น
                ถ้าหากว่าจังหวัดเหล่านี้ประสบปัญหาภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรืออุทกภัย

                ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในพื้นที่เหล่านี้ เทศบาลในจังหวัดต่างๆ เหล่านี้


                   11    รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างดัชนีรวม (composite index) และการจัดลำดับควอไทล์
                อ่านได้จากภาคผนวกที่ 2 ท้ายหนังสือเล่มนี้
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80